จริยธรรมองค์กรธุรกิจในยุคความปกติใหม่

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง
ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาจริยธรรมในองค์กรธุรกิจยุคความปกติใหม่ องค์กรต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือโรคอุบัติใหม่ต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัว การดำเนินธุรกิจที่ไม่เอาเปรียบและมีความซื่อตรงต่อลูกค้า ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรม ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และความยั่งยืนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะจริยธรรมทางธุรกิจมีส่วนช่วยในการทำกำไรให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยการลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทางธุรกิจโดยการสร้างรากฐานของความไว้วางใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีส่วนร่วมในพัฒนาและให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายในการทำงานในรูปแบบทีมให้ประสบความสำเร็จ และการรักษาทุนทางสังคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์ขององค์กร ในขณะที่ชีวิตวิถีถัดไปหลังโควิด องค์กรธุรกิจจะต้องเตรียมพร้อมและปรับตัว โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะเพิ่มพูนรายได้ การยกระดับศักยภาพของธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายของแนวทางด้านจริยธรรมขององค์กรให้ชัดเจน มีความความโปร่งใสตรวจสอบได้ และมีการปฏิบัติต่อการละเมิดจริยธรรมอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
Academic Article

References

สุภาพร พิศาลบุตร. (2544). จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วีเจพริ้นติ้ง.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2543). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์.

พิภพ วชังเงิน. (2549). จริยธรรมทางธุรกิจ = Business ethics. กรุงเทพฯ: รวมสาสน์.

อติพร เกิดเรือง (2564) การบริหารภาวะความปรกติใหม่สำหรับผู้นำองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Bunbongkan, J. (2014). Business Ethics. Bangkok: Chulalognkorn University Press.

Post, J., Lawrence, A. & Weber, J. (2002). Business and Society: Corporate Strategy,

Public Policy, Ethics. Irwin: Mc-Graw Hill. p 133.

Ferrell, O. C. & Hirt, G. (2008). Business a Changing World. Irwin: McGraw-Hill.

Nkomo, S., Foltler, M. & McAfee, B. (2008). Human Resource Management Application. Mason: South-Western.

Velasquez, M. (2006). Business Ethics: Concepts and Cases. NJ: Prentice-Hall.

Ogbari, M.E., Oke, A.O., Ibukunoluwa, A.A., Ajagbe, M.A. & Ologbo, A.C. (2016).

Entrepreneurship and Business Ethics: Implications on Corporate Performance. International Journal of Economics and Financial Issues, 6(3), 50-58.

Zabel, K.L., Biermeier-Hanson, B.J., Baltes, B.B., Early, B.J. & Shepard, A. (2017).

Generational Differences in Work Ethic: Fact or Fiction?. Journal of Business and Psychology, 32(3),1-16.

McMurrian, R.C. and Matulich, E. 2006. Building customer value and profitability

with business Ethics. Journal of Business & Economics Research. Vol. 4. No.11. 11–18.

Motilewa, B.D., Ogbari, M. & Aka, D. (2015). A Review of the Impacts SMEs as Social

Agents of Economic Liberations in Developing Economies. International Review of Management and Business Research, 4(3), 903-914.

Piaget, J. (1960). The general problems of the psychobiological development of

the child. In J. Tanner & B. Inhelder (Eds.), Discussions on child development: Vol. 4 (pp. 3–27). London: Tavistock.

Sexty, R. (2011). Canadian business and society: Ethics and responsibilities (2nd

Ed.). Toronto.McGraw-Hill Ryerson.