การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูผู้สอน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ศลิษา ณรงค์เลิศฤทธิ์
สิรินาถ จงกลกลาง
วาสนา กีรติจำเริญ
สายสุนีย์ เติมสินสุข
อิสรา พลนงค์
จุลมณี สุระโยธิน
ปัทมาภรณ์ เสือทองปาน

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง การศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาความสามารถในการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ  ของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ถอดบทเรียนด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย หลักการและที่มาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีคุณภาพในระดับ มากที่สุด 2) ผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ความรู้ความเข้าใจสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยเฉลี่ยก่อนฝึกอบรม เท่ากับ 6.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 2.40 และคะแนนหลังการฝึกอบรม โดยเฉลี่ยเท่ากับ 10.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 1.70 และผลการประเมินความรู้ความเข้าใจสมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กิตติชัย สุธาโนบล. (2564). ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย.

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2552). วิกฤติกระบวนทัศน์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ

: ผู้แต่ง

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2562). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ :

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย competency. กรุงเทพฯ

: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2564). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น :

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.