การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางดนตรีสากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ3. เพื่อศึกษาความพึงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. แบบวัดความพึงพอใจ และ4. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 การทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน (Dependent-samples t-test) ค่าเฉลี่ย (X̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพรูปแบบการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82.96/80.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากลหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดนตรีสากล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.37, S.D. =0.61)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
กัณฐาภรณ์ พานเงิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีวิจารณญาณเรื่อง ชุมชนริมน้ำจันทบูร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชนก วรรณกุล .(2557). การสร้างชุดการสอนวิชาทฤษฏีดนตรีสากลเรื่องขั้นคู่และทรัยแอดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำ. สาขาวิชาดุริยศิลป์ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ.
ดาเรศ เทวโรทร. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีไทยตาม ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ โดยรองศาสตราจารย์ดร.สุกรีเจริญสุข ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนกฤต แสนทวีสุข .(2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเมโลเดียน สำหรับชมรมดนตรีโรงเรียน บ้านคำสมอ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพายัพ.
นารมย์ วรรณบุรี .(2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สeหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
สุกัญญา จันทร์แดง .(2556). ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการทำงานร่วมกันวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ VeridianE-Journal. 6(2). หน้า 567-589.
สุไปรมา ลีลามณี .(2553). ศึกษาความสามารถในการอานคําและแรงจูงใจในการอานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปญหาการเรียนรูดานการอานจากการสอนโดยผสมผสานวิธีโฟนิกส์ (Phonics) กับวิธีพหุสัมผัส (Multi - Sensory Approach). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ :ภาพพิมพ์.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ .(2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : ดวงกมล พับลิสซิ่ง.
วารี ถิระจิตร .(2557). การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง .(2552). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
AbuSeileek, A. F. (2007). Cooperative vs. individual learning of oral skills in a CALL environment. Computer Assisted Language Learning, 20(5).
Balkcom, Stephen. (June 1992). Education Research Consumer Guide. Archived: Cooperative Learning.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning. 2nd ed. USA: Allyn and Bacon.