การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิต เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา โดยมีรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา ออกแบบและพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นประเมินผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลประเมินความเหมาะสมรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสอดคล้องของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.51, S.D. = 0.32) และผลการตรวจคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅=4.38, S.D.= 0.38) 2. นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติดนตรีไทย หลังเรียน (X̅= 32.80, S.D.= 1.95) ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน (X̅= 15.49, S.D. = 3.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X̅= 4.49, S.D. = 0.60)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นัทธี เชียงชะนา. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา : การวิเคราะห์อภิมานและการ
วิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี .(2557). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารี ถิระจิตร .(2547). การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2549). นานาวิทยาการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์ความรู้. ศูนย์พัฒนา
ศักยภาพภาคีด้านการสร้างเสริมสุขภาพสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร. ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุมาลี ทองคํา .(2562). การจัดการเรียนรูแบบสาธิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทารํามือและเทาให
ถูกตองตามแบบแผนทารํานาฏศิลปไทย ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทยพณิชยการ. วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทยพณิชยการ กรุงเทพมหานคร.
สุลัดดา ลอยฟ้าและไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU Journal of Mathematics Education 2547; 1(1): 18-29.
สุรีรัตน เนียมสลุต. (2541). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนา
ความรู เจตคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Nohda, N. (2000). Teaching by open-approach method in Japanese mathematics
classroom. In T. Nakahara, & M. Koyama (Eds.), Proceedings 24th of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education, 1, 39-53.