บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการสร้างรูปแบบพลเมืองดิจิทัล ในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการสร้างรูปแบบพลเมืองดิจิทัลในศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทในการสร้างความรู้ความเข้าใจทักษะดิจิทัลต่อประชาชนในเขตพื้นที่รูปแบบที่ไม่เป็นทางการและรูปแบบการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัลดำเนินการผ่าน 2 โครงการหลักได้แก่ โครงการธรรมะหรรษา และเวทีประชาคม ที่ชุมชนจะมาแลกเปลี่ยนกับองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ รวมถึงการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้จะมีการสอดแทรกประเด็นทางสังคมทำให้ประชาชนในพื้นที่ผ่านการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลในรูปแบบทางอ้อมและไม่เป็นทางการมากกว่า (2) บทบาทด้านการบริการสาธารณะ เช่น การใช้ระบบแบบสอบถามออนไลน์ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้แอพพลิเคชั่นของรัฐบาล การเข้าถึงกล้องวงจรปิด สร้างช่องทางร้องเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การสำรวจที่ดินของตนเองผ่านดาวเทียม ระบบ GFMIS บริการอินเทอร์เน็ต และ E- Services และรูปแบบที่เป็นทางการเช่น E- Services บริการอินเทอร์เน็ต ประชาชนสามารถสำรวจที่ดินของตนเองผ่านดาวเทียมด้วยตัวเอง ประชาชนสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ เช่น application Line Facebook ประชาชนสามารถประเมินความพึงพอใจผ่านระบบแบบสอบถามออนไลน์ (3) บทบาทในดูแลรักษาสุขภาพอันเกิดจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ดูแลรักษาสุขภาพจิตอันเกิดจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ให้คำปรึกษาในการรักษาสุขภาพอย่างถูกต้องแก่ผู้อื่น และบทบาทในการเพิ่มทักษะในการเข้าถึงการบริการสุขภาพดิจิทัล และรูปแบบการเรียนรู้ด้านด้านสุขภาพยุคดิจิทัลดำเนินการผ่าน 2 โครงการหลักได้แก่ โครงการธรรมะหรรษา และเวทีประชาคม ที่ชุมชนจะมาแลกเปลี่ยนกับองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ รวมถึงการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้จะมีการสอดแทรกประเด็นทางสังคมทำให้ประชาชนในพื้นที่ผ่านการเรียนรู้ด้านสุขภาพยุคดิจิทัลในรูปแบบทางอ้อมและไม่เป็นทางการมากกว่า
Article Details
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.(2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2562-2565.กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, นงนุช วงศ์สว่าง.(2560). การสาธารณสุขในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 26 ฉบับเพิ่มเติม 2, กันยายน – ตุลาคม 2560 : หน้า 377- 388
ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์. (2548). การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการออกกำลังกายของประชาชน หมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่ง จังหวัดชัยนาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ .(2561).ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่8 ฉบับที่1 มกราคม-เมษายน 2561.
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2558). พลเมืองดิจิทัล. เชียงใหม่: คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
วริศ คุ้มสิน.(2562). ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารงานภาครัฐแบบดิจิทัลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุพิณญา คงเจริญ.(2560).โรคอ้วน:ภัยเงียบในยุคดิจิทัล.วารสาร EAU HERITAGE. Vol. 11 No. 3 (2017): September-December
พีรวิชญ์ คำเจริญ และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล. วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสารสังคม. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2(12) ก.ค.-ธ.ค.2561. น. 22-30.
สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี2561. กรุงเทพฯ : สํานักยุทธศาสตร์สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
เอกชัย กี่สุขพันธ์.(สิงหาคม 2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นจาก http://www.trueplookpanua.com.
Elmore, Richard E. (1978).“Organizational Models of Social Program Implementation.” Public Policy 26 (2)
Matland, RE (1995) Synthesizing the implementation literature: The ambiguity–conflict model of policy implementation. Journal of Public Administration Research and Theory 5(2): 145–174