การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานการส่งเสริมและจัดซื้อวัตถุดิบ ข้าวโพดหวานของบริษัท มาเจสติคอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด

Main Article Content

ภัควรินทร์ ทวีอัศราพัชญ์
อัศวิณ ปสุธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รวบรวมวัตถุดิบ (Broker) ข้าวโพดหวาน ที่มีต่อการให้ บริการในการซื้อขายวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ของบริษัท มาเจสติคอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด 2. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้รวบรวมวัตถุดิบ (Broker) ข้าวโพดหวาน ที่มีต่อการให้บริการในการซื้อขายวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ของบริษัท มาเจสติคอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด  และ 3.เพื่อนำปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้รวบรวมวัตถุดิบ (Broker) มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุง การให้บริการในการซื้อขายวัตถุดิบข้าวโพดหวาน ของบริษัท มาเจสติคอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด เพื่อให้การส่งเสริมและจัดซื้อวัตถุดิบข้าวโพดหวานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม แบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองลูกค้าได้ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจอย่างยิ่ง หลังจากทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของบริษัทเรียบร้อยแล้ว ผู้ศึกษาได้ทำการกำหนด กลยุทธ์ โดย TOWS Matrix ที่ได้มาจัดเรียงตารางเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางเลือกในการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม ให้กับบริษัทฯ  เมื่อวิเคราะห์ TOWS แล้วจึงนำการวิเคราะห์ TOWS มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ 1. กลยุทธ์เชิงรุก (SO) บริษัทฯ ใช้เทคโนโลยี ซอฟแวร์ ในการเก็บข้อมูลการส่งเสริมวัตถุดิบ ข้อมูลโบรคเกอร์ เกษตรกร พื้นที่เพาะปลูก 2. กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) การทำแผนการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier Relationship Management หรือ SRM) 3. กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) บริษัทฯ เป็นผู้จัดซื้อปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา และซัพพลายให้เกษตรกรในราคาทุน และให้เครดิต 4. กลยุทธ์เชิงรับ (WT) บริษัทฯ ประเมินผู้รวบรวมวัตถุดิบ และทำการคัดเลือกพื้นที่ส่งเสริมที่มีศักยภาพ และเป็นพื้นที่ใกล้เพื่อควบคุมให้มีประสิทธิภาพ และได้ต้นทุนที่เหมาะสม จากการสรุปการประเมินกลยุทธ์แบบ Richard Rumelt ทำให้ทราบว่าแนวทางที่ควรนำมาเป็นทางเลือกสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานการส่งเสริมและจัดซื้อวัตถุดิบข้าวโพดหวานของบริษัท มาเจสติคอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด คือ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) การทำแผนการจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier Relationship Management หรือ SRM)

Article Details

บท
Research Articles

References

ธัญวรัตน์ แจ่มใส .(2562). แนวทางการบริหารจัดการการเกษตรที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดศรีสะเกษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (2562) : กรกฎาคม-ธันวาคม

พิมล เมฆสวัสดิ์. (2550). ประเมินคุณภาพการบริการสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ,

รุ่งฤดี วิริยะผล, สัมภาษณ์ 15 มีนาคม 2565. ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและจัดซื้อวัตถุดิบ บริษัท มาเจสติค อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด. สัมภาษณ์.

สิริวรรณ คงตุ้ง และชิตพงษ์ อัยสานนท์ .(2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ. คณะวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เอกกมล เอี่ยมศรี .(2552). PEST Analysis การทำความเข้าใจใน “ภาพรวม” ที่ทำให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลง. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2565 จาก https://eiamsri.wordpress.com/2011/06/03/

Parasuraman. et al. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions And Expectations. New York: The free press

Parasuraman, A., & Grewal, D. (2000). Serving customers and consumers effectively in the twenty-first century: A conceptual framework and overview. Journal of the Academy of Marketing Science, 28(1), 9-16.