ผลการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Main Article Content

ภูวดล จุลสุคนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 46 คน ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชา คศ 1204208 การบริหารการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ 1) แบบวัดพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ และ   2) แบบบันทึกกระบวนการจัดการความรู้ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ก่อนเรียนภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อได้มีการใช้แบบบันทึกกระบวนการจัดการความรู้แล้ว พบว่าพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หลังเรียนเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอม ขุนเพ็ชร. (2561). การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เดินหน้าสู่เป้าหมายเครือข่ายพัฒนาศักยภาพ. สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. เข้าถึงจาก www.opdc.go.th/oldweb/thai/ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565.

Bhatt, D. (2000). EFQM: Excellence model and knowledge management implications. Retrieved Febuary 11,2017

from http://www.eknowledgecenter.com/articles/1010/1010.htm

Cabrera, A., Collins, W. C., & Salgado, J. F. (2006). Determinants of individual engagement in knowledge sharing. International Journal of Human Resource Management, 17(2), 245−264.

Jiang, M. (2003). A Study of the Leadership Strategies and School Atmosphere of Elementary School Principals on Teachers’ Willingness of Knowledge Sharing. Unpublished Thesis. National Pingtung Teachers College

Kulkarni, A., Tan, B. C. Y., & Wei, K. -K. (2005). Contributing knowledge to electronic knowledge repositories: An empirical investigation. MIS Quarterly, 29(1) 113−143.

Sarkar, A. S., Ako M. T., Aram, M. Q., Shahen, M. F., & Khanda, G. A. (2022). The Role of Knowledge Management in Higher Education Institutions (Colleges and Universities). Al-Idarah Journal Kependidikan Islam. 12(02).

Trivedi, K. and Srivastava, K.B.L. (2021). “A framework for integrating strategic HR and knowledge management for innovation performance”, Strategic HR Review, Vol. 20 No. 1, pp. 11-16.