การพัฒนาทักษะการอ่านและการพูดภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Bedtime story ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อนิทานออนไลน์

Main Article Content

ณัฐนนท์ จันทร์ประแดง
เกษกนก วรรณวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ Bedtime story โดยใช้สื่อนิทานออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อนิทานออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้ Bed time story 3) พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 4) พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านส้มป่อย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) สื่อนิทานออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและการพูดภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ Bedtime story 4) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 5) แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบด้วย t-test dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ Bed time story ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อนิทานออนไลน์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.71/81.46  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3. การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สื่อนิทานออนไลน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง

ประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กมลวรรณ ศรีสุโคตร. (2554). การพัฒนาทักษะการพูดและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรม บทบาทสมมติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จินตนา ใบกาซูยี. (2534). แนวการจัดทําหนังสือสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ:

สุวีริยาสาส์น.

(2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 5, 2556, จาก http://human.bsru.ac.th/ /search/sites/default/files /พนอเนื่องการพัฒนาบทเรียน.pdf.

พิมพ์พิไล วะนา (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง My Self and Family โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มการเรียนร่วมมือแบบทีม (TAI) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2. กรุงเทพฯ: วารสาร.

วยุพา ทศศะ (2541). การเล่านิทานสัญจรสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียง

เหนือ. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฎิบัติการเล่านิทานสัญจรสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิสาข์ จัติวัตร์ (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุพรรณี วราทร. (2550). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน (2). กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

สุมิตรา อังวัฒนกุล . (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

สมนึก ภัททิยธนี. 2546. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สําลี รักสุทธิ์. (2544). เทคนิควิธีการจัดการเรียนและเขียนแผนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

สําลี รักสุทธิ์. (2553). การจัดทําสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี :

เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

อัจจิมา ไชยชิต (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดค าภาษาอังกฤษ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: วิจัยในชั้นเรียน.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2538). แนวการสร้างข้อสอบภาษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1993). Organizational Commitment : Evidence of Career Stage Effect. Journal of Business Research, 26, pp. 49 - 61.

Bloom Benjamin S., et al. 1956. Taxonomy of Educational Objectives. New York : David Mckay Company.

Brennan ,R.L. and Kane ,M.T. 1977. “An Index of Dependability for Mastery Tests”, Journal of Educational Measurement. 14(1977) ,277-289.

Harris, D.P. (1974). Teaching English as Second Language. Bombay: Mc Graw Hill.

The Modern Language Journal. The National Federation of Modern Language testing, LIX : 1 - 2 January - February.

Kuder, Frederic G. and M.W. Richardson. 1937. “The Theory of the Estimation of Test Reliability”, Psychometrika. 2 (September 1937), 151-160.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Paulston, C. B. and Bruder, M. B. (1976). Teaching English as a Second Language: Techniques and Procedures. Massachusetts: Winthrop Publisher.