จริยศาสตร์-สุนทรียศิลป์: คุณค่าที่ปรากฏในวรรณกรรมมุขปาฐะท้องถิ่น กรณีศึกษาวรรณกรรมมุขปาฐะที่พบในชุมชนบ้านกุดละลม ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อรอนุตร ธรรมจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าจริยศาสตร์และสุนทรียศิลป์ที่ปรากฏในวรรณกรรมมุขปาฐะบ้านกุดละลม ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้จากกลุ่มผู้รู้ (Key Informant) ในหมู่บ้านแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องหรือประเด็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่สืบทอดกันภายในชุมชน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ได้วรรณกรรมมุขปาฐะ ได้วรรณกรรมมุขปาฐะ 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ตำนานเรื่องเล่าขาน 2) นิทานพื้นบ้าน 3) สำนวนผญาภาษิต ซึ่งแบ่งเป็น ผญาคำสอน ผญาเกี้ยว และผญาอวยพร 4) เพลงพื้นบ้าน 5) วรรณกรรมมุขปาฐะเบ็ดเตล็ด ได้แก่ คำอธิษฐานและคำทวย(ปริศนาคำทาย) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าของวรรณกรรมมุขปาฐะได้ทำหน้าที่เสนอแนวทางอันดีต่อคนในชุมชนเป็นจริยศาสตร์หรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติดี 5 ประเด็น ประกอบด้วย (1) ด้านการทำความดีละเว้นความชั่ว (2) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความขยันอดทนและสุจริต Z3) ด้านความกตัญญู กตเวที การตอบแทนผู้มีพระคุณ 4) ด้านการดำรงชีวิตด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งร้ายต่อกัน 5) ด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ด้วยการพูดดี คิดดีและทำดี 2) วรรณกรรมมุขปาฐะถ่ายทอดสุนทรีย์ศิลป์ เพื่อสร้างความอิ่มเอม ปิติและสร้างอารมณ์คล้อยตาม อันเกิดจากความงาม 3 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) เนื้อหา ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี คำสอน ความเชื่อ ความศรัทธา 2) เรื่องราวเนื้อหามีการนำเสนอตามรูปแบบหรือฉันทลักษณ์ ตรงตามลักษณะของวรรณกรรมแต่ละประเภท 3) มีศิลปะในการใช้ถ้อยคํา มีการใช้คําสัมผัส คำที่ความหมายนัยตรงและนัยอ้อม การใช้โวหารเพื่อสื่อความหมายและแฝงแง่คิดที่งดงาม

Article Details

บท
Research Articles

References

กตัญญู ชูชื่น. (2543). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณดีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เคเอ็น ชยติลเลเก. (2537). จริยศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พนิดา บุญเทพ. (2548). บ้านขะยูง: ประเพณี ความเชื่อ และการยังชีพ. (สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: สํานักบัณฑิตอาสาสมัคร.

พนิดาพร จงราเชนทร์. (2559). รูปแบบความรักของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ ประยุกต์. 9(2): 29-37.

พระธีระพงษ์ นรินฺโทและคณะ. (2563). การตีความผญาอีสานในทางปรัชญา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(2): 247-259

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. (2552). การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเขตชานเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น กรณีศึกษา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: เชียงใหม่.

สวิง บุญเจิม. (2537). ผญา ตำรามรดกอีสาน 3. อุบลราชธานี : มรดกอีสาน.

อุดม บัวศรี. (2546). วัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: คลังนานาวิชา.