แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 2 ) ศึกษาเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จําแนกตาม เพศ และประสบการณ์ทํางานและ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcieand Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 313 คน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทักษะด้านเทคนิคทักษะด้านการศึกษาและทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ตามลำดับ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศและประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้การบริหารงานยุคใหม่ สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดการร่วมมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานตามนโยบายของสถานศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้บริหารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีวิธีการสื่อสารที่ดีกับบุคลากรทุกระดับ สามารถสร้างความสัมพันธ์ทำให้เกิดการประสานงานในสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดการรับรู้ร่วมกัน มีปฏิกิริยาตอบสนองและเกิดความร่วมมือกันในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. [Online]. เข้าถึงได้ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=38880&Key=news_research
จันทร์เพ็ญ ธนะฤกษ์. (2555). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาแบบมืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(3): 90-102.
โชคชัย นาไชย. (2559). ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1(1): 57-67.
บุณยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล. (2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(5): 187- 196.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10(3): 168-178
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.
สุริยา ทองยัง. (2558). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 7(2): 1-9.
อำนวย พลรักษา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพ. 7(1): 1-8.
Bartol, Kathryn M. and Martin, David C. (1991). Management. New York, McGraw-Hill.
Best, J. W. (1997). Research in Education. Boston, M.A.: Allyn and Bascom.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins.
Drake, L.T. and Roe, H.W. (1994). The principal ship. New York: Macmillan College Publishing.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 – 610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Sergiovanni, Thomas J. (1983). Supervision Human Perspective. New York: McGraw-Hill.