แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายใน และ 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และประเมินแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งการวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 297 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และระยะที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ จำนวน 11 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายใน พบว่า ปัจจุบันมีระดับการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายใน พบว่า มีความประสงค์ให้มีการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายใน พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับแรกคือ ข้อมูลและสารสนเทศ รองลงมาคือ การเผยแพร่และขยายผล การจัดการที่เน้นการพัฒนาครูและนักเรียน การวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และการติดตาม ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า มีประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิด 2) จุดมุ่งหมาย 3) แนวทางการดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 3.1) ด้านข้อมูลและสารสนเทศ จำนวน 6 ขั้นตอน 3.2) ด้านการวางแผนนิเทศอย่างมียุทธศาสตร์ จำนวน 7 ขั้นตอน 3.3) ด้านการจัดการที่เน้นพัฒนาครูและนักเรียน จำนวน 5 ขั้นตอน 3.4) ด้านการติดตาม จำนวน 4 ขั้นตอน และ 3.5) ด้านการเผยแพร่และขยายผล จำนวน 6 ขั้นตอน 4) กลไกการดำเนินงาน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จและผลการประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้โดยรวมระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
กันยา เจริญถ้อย. (2553). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้การสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธิดารัตน์ หัตถมา. (2566). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรวุฒิ หอมอินทร์. (2563). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธิ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับคตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
ภัชราภรณ์ สงศรีอินทร์. (2559). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
ศิริ จันทะผล. (2552). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ .2553 .กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). e-Mes: ระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรม สพฐ. สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://203.159.164.62/~eme62/
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน.วารสารวิชาการ,5(8), 25-31.
อัจฉริยา ฤทธิรณ. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.