การศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาทิฎฐิในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฎฐิในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาทิฎฐิในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาทิฎฐิในพระพุทธศาสนา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยคุณภาพเชิงพื้นที่ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารชั้นปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์ โดยการนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมที่สำคัญมาก มีอิทธิพลต่อการกำหนดกรอบการมองโลกและวิถีชีวิตในสังคมของกระบวนการทางความคิดและสร้างสรรค์จิตใจและความเห็น ความเชื่อทางจิตใจจะแสดงออกมาเป็นการกระทำกรรมทางสังคมมีการแสดงออกมาให้ปรากฏทางกาย ทางวาจา และทางใจ การทำงานและการประกอบอาชีพ ที่สุจริต ถูกต้อง ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การดำเนินชีวิตตามหลักสัมมาทิฏฐิ มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับโลกิยะ และระดับโลกุตตระ ระดับโลกิยะ ประกอบด้วย ปรโตโฆสะ การสร้างสัมมาทิฏฐิด้วยปัจจัยภายนอกทุกประเภทที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมชีวิตของบุคคล คือ 1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ 2) ความเป็นผู้รู้จักผล 3) ความเป็นผู้รู้จักตน 4) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ 5) ความเป็นผู้รู้จักกาลอันควร 6) ความเป็นผู้รู้จักสังคม 7) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล การสร้างสัมมาทิฏฐิด้วยวิธีการแห่งปัญญา ด้วยการใช้ความคิดแบบถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบแบบแผน คิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย รู้จักแยกแยะสิ่ง ทั้งหลายทั้งปวงให้เห็นตามความเป็นจริง
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550). สัมมาทิฏฐิ: ศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถากถาวตัถุและ
คัมภีร์ทางพุทธศาสนา. โครงการธรรมศึกษาวิจัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย,
บุษบาภรณ์ สิงหอศัวรัตน์. (2550). “การวิเคราะห์หลักสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนา
ชีวิต”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระมหาพรชัย ฉนฺทธมฺโท และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). “สัมมาทิฏฐิกับการแก้ปัญหาของ
สังคมในปัจจุบัน”, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, 2563.