การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2)เปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 338 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณ ของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดแบบประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 39 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่โดยวิธีของ Sheffe’s method ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง 2)เปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ธร สุนทรายุทธ.(2565). พฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์กร:จริตและจริยธรรมของคนในองค์กร
ภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพฯ:เนติกุลการพิมพ์.
พิมพ์วรา ดวงแก้ว. (2556).การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ
ครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
วราภรณ์ คุณธรรม. (2554). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขต
พื้นที่ การศึกษาหนองคาย เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.
วิชานนท์ เทียมทะนง. (2564). พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาใน
โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมุทร ชำนาญ.(2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา:ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง:พี.เอส
สัมมา รธนิธย์. (2553). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ:แอล.ที.เพลส.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2565). ศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา สพป.ขอนแก่น เขต 1. เข้าถึงได้จาก http://www.kkzone1.go.th/2022.
สุกานดา รอดสุโข. (2554 ).การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. บัณฑิตวิทยาลัย :,มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุกัญญา เพาะแป้น. ( 2552). วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพัตรา ครึ่งมี. (2561). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิชาติ เบิกประโคน. (2561) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียน
กลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัจฉรา ลิ้มวงษ์ทอง. (2557). การบริหารความขัดแย้งในองค์การ. กรุงเทพฯ : บุ๊คส์ ทู ยู.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York: Harper and Row.