การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรและเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม การประเมินหลักสูตร ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของสตัฟเฟิลบีม เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 14 คน นักศึกษา จำนวน 92 คน มหาบัณฑิต จำนวน 36 คน ผู้ใช้มหาบัณฑิต 36 คน รวมทั้งสิ้น 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม โดยภาพรวมและรายด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านบริบทและด้านผลผลิต 2) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ด้านบริบท ควรมีความสองคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด -19 ซึ่งนักศึกษาต้องได้รับความรู้จากบทเรียนและอาจารย์ที่ให้ความรู้ตรงตามหลักสูตร สอดคล้องกับสภาพการบริหารการศึกษาในปัจจุบันบริบทของหลักสูตรควรออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้บริหารการศึกษาที่มีความสามารถในการบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้ใช้มหาบัณฑิตต้องการให้หลักสูตรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ ภาวะผู้นำทางวิชาการ การวางตัวในสังคมให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น และด้านกระบวนการ ควรมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดระบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ กระบวนการเป็นไปตามหลักการของหลักสูตรที่กำหนดดีอยู่แล้ว กระบวนการสำเร็จการศึกษาควรกำหนดให้ชัดเจน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กาญจนา คุณารักษ์. (2549). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม :
เพชรเกษมการพิมพ์
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2564). เสวนาหัวข้อ "นวปทัสถานการเรียนการสอน New Normal of Teaching and Learning” เมื่อวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 น. กิจกรรม EDU Coworking.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาก https://www.edu.chula.ac.th/node/1850 ค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
วิชาเอกสังคมศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(2), 139-151
นิสากร ชูชาติ. (2555). การประเมินหลักสูตรพุทรศาสตรบัณฑิต สาขาเผยแพร่ คณะพุทธศาสตร์
สถาบันธรรมชัย จังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรังสิต.
บงกช เอี่ยมชื่น. (2555). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550) บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์.
พจนีย์ มั่งคั่ง และคณะ. (2561). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(28), 243-255.
ภารดี อนันต์นาวี. (2558). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 12(23) กรกฎาคม – ธันวาคม, 98-107.
มหาวิทยาลัยนครพนม. (2563). รายงานประจำปี 2563 มหาวิทยาลัยนครพนม, จาก
https://www.npu.ac.th/annual_report/2563 ค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2563). คุณลักษณะบัณฑิต, จาก http://grad.snru.ac.th/ admission/คุณลักษณะบัณฑิต. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2562). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาลตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ด้วยรูปแบบ CIPPIEST. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 19-36.
วลัยพร ทองหยอด. (2554). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศุจิกา ภูมิโคกรักษ์ และคณะ. (2559). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พยาบาลสาร. (ฉบับพิเศษ), ธันวาคม 151-161.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเทพ อ่วมเจริญ. (2555). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัจฉรา เทียนทอง. (2557). การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลควบคุมการติดเชื้อโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Doll, c. R. (1974). Curriculum Improvement. (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Brace & World.
Madaus, George F. and Daniel L. Stufflebeam. (1988). Educational Evaluation : Classic Works of Ralph W. Tyler. London: Kluwer Academic Publishers.
Stufflebeam, Danial L. (2000). “THE CIPP MODEL FOR EVALUATION.” in Evaluation ModelsViewpoints on Educational and Human Services Evaluation. 2nd ed. Boston: Kluwer Academic Publishers.
Stufflebeam, Danial L. and Chris L.S.Coryn. (2014). Evaluation Theory, Models, &
Application. SanFrancisco: Jossey-Bass.