แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1. ศึกษากระบวนการการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น 2. เสนอแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และมีเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ที่มีลักษณะคำถามปลายเปิดที่ออกแบบมาสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่นในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญในการจัดการขยะในลักษณะ ของลำดับความสำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเหลือศูนย์ตามหลักการ 5Rs ที่ให้ความสำคัญกับการลดการใช้และการใช้ซ้ำมากที่สุดและสนับสนุนให้มีการฝังกลบน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้เกิดการ คัดแยกขยะเพื่อนำไปสู่การแปรรูปขยะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ (2545). โครงการสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลทั่วประเทศ โดยกรมควบคุมมลพิษ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ
ชัยวิชิต พลหลา. (2559). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหารคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชนิต ว่องประพิณกุล และสุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2564). ขยะพลาสติกจากการสั่งอาหารออนไลน์สถานการณ์ปัญหาและแนวทางแก้ไข (ตอนที่ 1). วารสารสิ่งแวดล้อม, 25(1).
บุษยมาส ชื่นเย็น. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (2565) Journal of Management Sciences, Vol.9 (1) (2022).
รายงานผลการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยจากชุมชนที่ต้นทางอย่างยั่งยืน. (2562). รายงานผลการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยจากชุมชนที่ต้นทางอย่างยั่งยืน พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น
วัลลภ แจ้งเหตุผล. (2564). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ธันวาคม 2564).
Durham Region. (2013). Community Communication Plan: Energy from Waste. Durham York Energy Centre.
Johnson, B. (2013). Zero Waste Home. New York: A Division of Simon and Schuster.
Holman, R. (2017). No Time to Waste, Waste Diversion in Construction. West Michigan: The USGBC West MI Chapter.
U.S. Environmental Protection Agency. (1989). Management of Hazardous Wastes from Educational Institutions. U.S.: U.S. Department of Commerce National Technical Information Service Springfield.
Zaman, A. and Lehmann, S. (2011). Challenges and Opportunities in Transforming a City into a "Zero Waste City". Journal Challenges, 2(4), 73-93.