รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 2) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 3) ยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 552 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่มีความเที่ยง 0.99 สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 2) คุณภาพบุคลากรตามหลักสัปปุริสธรรม 7 3) การวางแผนบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 4) ความร่วมมือของเครือข่ายตามหลักสัปปุริสธรรม 7 5) คุณภาพผู้เรียนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 6) การดำเนินการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 7) การพัฒนาบุคลากรตามหลักสัปปุริสธรรม 7 2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) การยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559).ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ขัตติยา ด้วงสําราญ. (2562). รูปแบบการบริหารเชิงแนวทางสําหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จเด็จ ทางเจริญ. (2556, พฤษภาคม-มิถุนายน). “Quality Award รางวัลคุณภาพแห่งชาติ”, วารสาร PRODUCTIVITY WORLD. 6(32): 13–19.
จิตณา มั่นคง. (2554). การดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานตามโรงเรียนมาตรฐานสากล. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2560). การจัดการเชิงแนวทาง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จุมพล ระบอบ. (2559). การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศแบบก้าวกระโดดด้วยการเทียบเคียงสมรรถนะตามแนวรางวัลคุณภาพแห่งชาติทางการศึกษา โรงเรียนบ้านดงยางใต้ อำเภอเมือง อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฉันทนา บุญจริง, สามารถ กมขุนทดและสุรชัย โกศิยะกุล. (2554). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาตามหลักสูตรระยะสั้นของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดตาก, RMUTI JOURNAL Science and Technology. 4(1): 56-69).
ชนินทร์ ชุณหพันธ์รักษ์. (2558). นโยบายธุรกิจและการบริหารเชิงแนวทาง. กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารและตํารา สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.
ช่วงโชติ พันธุเวช. (2561). การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชัญญา อภิปาลกุล. (2558). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและจัดการศึกษา ภายใต้โครงสร้างการกระจายอํานาจการบริหารการศึกษา: กรณีศึกษาของสํานักงานการประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โด่งสยาม โสมาภา. (2557, มกราคม–เมษายน). “การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทานคุณลักษณะ”, วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(3): 101-121.
ทรงพล เจริญคำ. (2562). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทวีวรรณ อินดา. (2562). การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนําแนวทางไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558, กรกฎาคม–กันยายน). “รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(3): 1–9.
ยุวลักษณ์ เส้งหวาน. (2554). การพัฒนารูปแบบกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.