การพัฒนาระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น 2) พัฒนาระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น 3) ยืนยันผลระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศและแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม โดยใช้การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อมาสรุปเป็นกรอบแนวคิด 2) การกำหนดองค์ประกอบของระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาคัดเลือกองค์ประกอบตามความเหมาะสม 3) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น 4) การพัฒนาระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มาทำการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนาระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น และ 5) การยืนยันความเป็นไปได้ของระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยการสัมมนาเชิงวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) การพัฒนาระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน โดยมีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.31 ได้แก่ 1) ด้านการบริหารการนิเทศนักศึกษาตามหลักศรัทธาพละ (การวางแผน) 2) ด้านการบริหารการนิเทศนักศึกษาตามหลักวิริยะพละ (การดำเนินการ) 3) ด้านการบริหารการนิเทศนักศึกษาตามหลักสติพละ (การสังเกตผล) 4) ด้านการบริหารการนิเทศนักศึกษาตามหลักสมาธิพละ (การประเมินผล) และ 5) ด้านการบริหารการนิเทศนักศึกษาตามหลักปัญญาพละ (การสะท้อนผล) 3) การยืนยันผลระบบการบริหารการนิเทศนักศึกษาทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธวิธีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2560). เทคโนโลยีทางการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

พัชราวลัย สังข์ศรี. (2561, มกราคม-เมษายน). “พุทธวิธีกับการบริหารการศึกษา”, Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(1): 1260-1270.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2562). การนิเทศการศึกษา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณพร สุขอนันต์. (2560). รูปแบบการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี, สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สมพร ชูทอง. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่มาตรฐานวิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก”. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 2(1): 10-20.

McTaggart, R. (1991). “Principles for participatory action research”, Adult Education Quarterly. 41(3): 168-187.

Sergiovanni, T. J. and Starratt, R. J. (1971). Supervisor: A redefinition. 5th ed. Singapore: McGraw-Hill.