การศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่องการแก้ปัญหา ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1

Main Article Content

สุวิชา สารมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80      2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ 1 เรื่อง การแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์กับการสอนแบบปกติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวนนักเรียน 60 คน กลุ่มทดลองคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวนนักเรียน 30 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้หน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย (1) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ Independent t – test


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การแก้ปัญหา มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.92/82.44  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/ 80 ที่กำหนดไว้ 

  2. นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ 1 เรื่อง การแก้ปัญหา สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ เฟื่องวิจารณ (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ กับการเรียนการสอนแบบปกติ, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญ์สุดา นิ่มอนุสสรณ์กุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อราคาทองคำแท่งในประเทศไทย ก่อนและ

หลัง วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติรัตน์ ลีลาเอกนิติ (2556). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบการสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นเรศ ขันธะรี. (2558, ตุลาคม - ธันวาคม). การพัฒนาบทเรียน E-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารบริหารบัวบัณฑิต, 15(พิเศษ), หน้า 291-298.

นฤพนธ์ น่วมศิริ (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ร่างกายมนุษย์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, หน้า 37-49.

ปิยมาศ แก้วอินตรา. (2560). การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ. วิจัยในชั้นเรียน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย.

เมษา พูลสวัสดิ์ (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, หน้า 131-142.

ศุภชัย สุขะนินทร์ และ กรกนก วงศ์พานิช (2545). เปิดโลก e-learning การเรียนการสอนแบบอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ยุพาภรณ์ หงส์สามารถ (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้บทเรียนออนไลน์ใน Google Classroom กับการสอนแบบปกติ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, หน้า 355-370.

สามมิติ สุขบรรจง. (2554).การพัฒนาห้องเรียนออนไลน์สำหรับรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

Mohammed Abdullatif Almulla and Waleed Mugahed Al-Rahmi. (2023). Integrated Social Cognitive Theory with Learning Input Factors: The Effects of Problem- Solving Skills and Critical Thinking Skills on Learning Performance Sustainability. MDPI. https://www.mdpi.com/2071-1050/15/5/3978

Olasile Babatunde Adedoyin &Emrah Soykan. (2020). Covid-19 pandemic and online learning : the challenges and opportunities. tandfonline. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/10494820.2020.1813180

Shanta, S., Wells, J.G. (2022). T/E design based learning: assessing student critical thinking and problem solving abilities. springer. https://doi.org/10.1007/s10798-020-09608-8