การพัฒนาระบบและกลไกดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแหลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัญหาระบบและกลไกดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแหลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านแหลม ผู้นำท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ศึกษาปัญหาของระบบและกลไกการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบประเมินระบบและกลไกดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบสอบถามคุณภาพชีวิตนักเรียน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ขั้นที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ไม่สามารถเก็บข้อมูลของนักเรียนได้ครอบคลุมทุกด้าน ไม่มีรูปแบบหรือเครื่องมือสอบถามที่มีรายละเอียดและครอบคลุม เพื่อจะได้ทราบปัญหาของเด็กได้ทุกด้าน ขั้นที่ 2 ด้านการคัดกรอง โรงเรียนไม่ได้จัดทำแบบสรุปผลการคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลและรายห้องเรียน ขั้นที่ 3 ด้านการส่งเสริมสนับสนุน โรงเรียนยังไม่สามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนได้ครบทุกกลุ่มและทุกคน ขั้นที่ 4 ด้านการป้องกันและแก้ไข โรงเรียนยังไม่มีฝ่ายสนับสนุนที่ชัดเจนที่จะให้คำปรึกษา กรณีของนักเรียนที่เกิดปัญหาด้านพฤติกรรม ขั้นที่ 5 การส่งต่อ โรงเรียนยังขาดการส่งต่อที่เป็นระบบ เช่นยังไม่มีบันทึกการส่งต่อ ทั้งภายในโรงเรียน และภายนอกโรงเรียน จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยพัฒนาระบบและกลไกดูและช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลม 2) การพัฒนาระบบและกลไกการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านแหลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1 การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานระบบและกลไกการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลม ผลการวิจัยพบว่า ได้ขั้นตอน 8 ขั้นตอน และสามารถการรวบรวมด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการประมวลข้อสรุปผลเป็นรายองค์ประกอบ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนระบบ (X̅= 4.58,S.D.= 0.44) ขั้นที่ 2 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (X̅ 4.78,S.D. 0.44) ขั้นที่ 3 การคัดกรองนักเรียน (X̅ =4.69,S.D. 0.50) ขั้นที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนา (X̅ 4.50,S.D. 0.64) ขั้นที่ 5 การป้องกันและแก้ไข (X̅= 4.70,S.D.= 0.48) ขั้นที่ 6 การส่งต่อ (X̅= 4.47,S.D.= 0.62) ขั้นที่ 7 การประเมินระบบ (X̅= 4.40,S.D.= 0.60) ขั้นที่ 8 การสรุปรายงานผล (X̅= 4.33,S.D.= 0.69) จากการพัฒนาระบบและกลไกการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกขั้นตอนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินคุณภาพชีวิตนักเรียน โรงเรียนบ้านแหลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1ซึ่งประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย (X̅ 4.83,S.D. 0.35) ด้านจิตใจ (X̅= 4.53,S.D.= 0.52) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (X̅= 4.78,S.D.= 0.41) ด้านการเรียนรู้ (X̅= 4.62,S.D.= 0.49)โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2540). แนวปฏิบัติงานแนะแนว: ตาแผนพัฒนาการแนะแนวกระทรวงศึกษาธิการระยะที่2 (พ.ศ. 2540 -2544). กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนหลักการ แนวคิดและทิศทาง ในการ ดำเนินงาน.กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ(2559) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 1-2
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต สำนักพัฒนาสุขภาพจิต. (2546). คู่มือการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่1 -2 (ชั้นประถมศึกษาปี ที่1 -6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.
รัดนากรณ์ สมบูรณ์, (2556). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. (วิทยานิพธ์ปริญญาดุมฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)ราชบัณฑิตยสถาน. (2546) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.
วิราภรณ์ ส่งแสง.(2559) “รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.