รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

จิรภัทร บุญเพ็ญ
นวรัตน์ ประทุมตา

บทคัดย่อ

          การศึกษารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี สำนักงานการศึกษามัธยมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ 2)เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี สำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยการศึกษารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค้นคว้าและสำรวจความต้องการรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้และการพัฒนาทักษะอาชีพ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคู่มือทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้  ขั้นตอนที่ 4 ประเมินการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยพัฒนา 5 ทักษะ มีผลการวิจัย ดังนี้ 1) ทักษะการแสวงหาความรู้ ก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.48 หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.29  2) ทักษะการทำงานร่วมกัน ก่อนทำกิจกรรมอยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.84  หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.66 3)ทักษะการแก้ไขปัญหาก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 12.01 หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.05 4) ทักษะกระบวนการทำงาน ก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 13.62 หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.90 5) ทักษะการจัดการ ก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 12.60  หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.21 ในการพัฒนาทักษะอาชีพทั้ง 5 ด้าน ทักษะที่มีการพัฒนาสูงสุด คือทักษะการทำงานร่วมกัน ก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.84 หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.66 มีผลต่างอยู่ที่ 5.82  และทักษะที่มีการพัฒนาต่ำสุด คือทักษะการจัดการ ก่อนทำกิจกรรม อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 12.6 หลังทำกิจกรรม อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.21 มีผลต่างอยู่ที่ 3.61

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ(2560).จุดเน้นของนโยบายสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น

พื้นฐานที่มุ่งเน้นให้โรงเรียน สร้างค่านิยมในการเรียนในสายอาชีพและลดสัดส่วน

การเรียนสายสามัญ,26

ปิยรัตน์ ยอดสุวรรณ์(2564).แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะอาชีพใน

ศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเวียงพาน จังหวัดเชียงราย: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเชียงใหม่,255-259

แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564).แนวทางการ

พัฒนาศักยภาพคนทุกกลุ่มวัยให้มีทักษะและความรู้ความสามารถในการประกอบ

อาชีพ,25

รณยุทธ นิลโคตร (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะอาชีพและชีวิตของครูใน

ศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 26:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 253

สกุลการ สังข์ทอง(2562).การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้าง

ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ตอนปลาย.ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน:มหาวิทยลัยศิลปากร,180

สุวดี อุปปินใจ (2562). กลยุทธ์การส่งเสริมคุณลักษณะด้านทักษะอาชีพของชุมชนตำบลเวียง

เหนืออำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่,47

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(2560).“วิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ.แผนการศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙”.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ,78.