การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

Main Article Content

ปุณยวีร์ ไกรรักษ์
สังวาล วังแจ่ม
ทัศนีย์ บุญมาภิ
สุรศักดิ์ สุทธสิริ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก รวมถึงเพื่อศึกษาปัญหา และ แนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 116 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม 10 คน สัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก โดยรวมอยูในระดับมากที่สุด และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านการนำองค์กร ด้านการมุ่งเน้นนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการจัดการกระบวนการ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ และ ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ตามลำดับ 2) ปัญหาคือการมีเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน หรือ การที่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังพบปัญหาการวางแผนงานขาดการมุ่งเป้าหมายที่ชัดเจน เส้นทางไม่ชัดเจน กระบวนการไม่ชัดเจน มีเพียงจุดมุ่งหมายที่จะต้องทำ แต่ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น มีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไร รวมถึง บรรยากาศในการปฏิบัติงานไม่ดี มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในสถานศึกษา 3) แนวทางในการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก คือ ผู้บริหารควรมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย เป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เพื่อให้บุคลากรและครูในสถานศึกษาสามารถปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกัน มีการวางแผนการบริหารอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ทันยุคสมัย ส่งเสริมให้บุคลากรและครูภายในสถานศึกษามีการพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านทักษะ และ ประสบการณ์ พัฒนาปรับปรุงการวัดและประเมิณผลให้มี

Article Details

บท
Research Articles

References

กฤษณา ศรีบุญเพ็ง. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เครือข่ายกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(9). 1-14.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 20(1). 1478.

ชนิดา ปากหวาน. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มนัสนันท์ เกิดเอี่ยม. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 4(2). 37-54.

วันฤดี ปุยะติ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันวิช แก้วมี. (2561). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สุพิศ โสภา. (2560). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น: กรณีศึกษา โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 7(2). 84-94.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). จำนวนครูในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลางและภาคตะวันออก. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.obec.go.th/

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1981). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Likert, R. (1967). New Patterns of Management. McGraw-Hill, New York.