ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเชียงคำ 1 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

Main Article Content

ชุติณัชชา ไชยโย
ทัศนีย์ บุญมาภิ
สังวาร วังแจ่ม
สุรศักดิ์ สุทธสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเชียงคำ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 127 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน และครูผู้สอน  จำนวน 112 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนา


          ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเชียงคำ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการวางแผนกำหนดพันธกิจ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน ด้านการประเมินผลและตรวจสอบความก้าวหน้า และด้านการนิเทศการสอน ตามลำดับ


แนวทางพัฒนา คือ 1) ควรส่งเสริมให้ครูใช้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับห้องเรียน ระดับชาติ ร่วมกันวิเคราะห์วางแผน ตั้งเป้าหมาย กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และร่วมพัฒนา 2) ควรมีการกำกับติดตามการนำหลักสูตรไปใช้ และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 3) ควรส่งเสริม สนับสนุนใช้สื่อ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอโดยระดมทรัพยากร สร้างเครือข่ายสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 4) ควรนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง มีแผนนิเทศ ใช้หลักการมีส่วนร่วม ปรับทัศคติของครูเป็นการนิเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือ สร้างบรรยากาศแบบเป็นกันเอง สรุปผลและสะท้อนผลการนิเทศ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาครูและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 5) ควรส่งเสริมให้ครูนำผลสอบระดับชั้นเรียน ระดับชาติ ร่วมกันวิเคราะห์จัดกลุ่มเรียนดี เรียนอ่อน จัดทำแผนพัฒนาเฉพาะกลุ่มสอนซ่อมเสริม ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณิการ์ วีระวงค์. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้า

ด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยพะเยา.

กัลยารัตน์ ศรีเนตร. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษ ในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกริก.

ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

ปนัดดา สะราคํา. (2565). การศึกษาภาวะผูนําทางวิชาการของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระ

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

ปรียาภรณ์ เรืองเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิตสา ขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2566. พะเยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. รายงานสรุปผลการประเมิน

คุณภาพภายนอก ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2566. เอกสารลำดับที่ 010/2566

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. พะเยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.

กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570.

สุชิน ประสานพันธ. (2564). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผูบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุมนา ศรีกงพาน. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทรบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใน

โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา.

งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.