ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี-ตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารปัญหาและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน เครือข่ายสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 116 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม 10 คน และการสัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี-ตราด โดยรวมอยูในระดับมากที่สุด ปัญหาที่พบคือ ครูและบุคลากรขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีการสนับสนุนที่ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการปฏิบัติงาน และ ครูและบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการใช้ดิจิทัล 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี-ตราด คือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลโดยการนำมากำหนดพันธกิจให้ชัดเจนเพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางในการบริหาร ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล จัดอบรมหรือ พัฒนาทักษะในการใช้ชุดโปรแกรมประมวลผลแบบคลาวด์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานผ่านระบบออนไลน์ ให้แก่ครู
Article Details
References
กัมพล เกศสาลี และกันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 503-514.
เกตุชญา วงษ์เพิก. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในยุคดิจิทัลสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 467–478.
ชุติรัตน์ วัชรอัตยาพล. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 5(1), 1-13.
พัฒนวงศ์ ดอกไม้. (2560) อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). จำนวนครูในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลางและภาคตะวันออก. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566, จาก https://www.obec.go.th/.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภวัช เชาวน์เกษม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อำนาจ วังจีน. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรมและความมั่นคงปลอดภัย. การประชุมวิชาการครั้งที่ 16:การวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(2349 - 2359) .กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1981). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.