ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 และ เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 260 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ด้านการพัฒนาทรัพยากร และด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ตามลำดับ
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สรวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสถานศึกษาและควรเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนด ชี้แจง ควบคุม และปรับทัศนคติของบุคลากร ให้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรที่ดีของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้วิธีการที่หลากหลาย ในการบริหารด้านงบประมาณ ด้านบุคลากรและด้านทรัพยากรภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาบุคลากรโดยการกระตุ้นให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาและใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดกฎระเบียบและข้อตกลงในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ให้รางวัลและลงโทษกับบุคลากรตามผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางการบริหารงานที่ยืดหยุ่นและควรมีการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กร เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรให้อิสระกับบุคลากรในการเสนอแนวคิดและการปฏิบัติงาน เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์
Article Details
References
กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
เกศรา สิทธิแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่
ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ คม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
คชาภรณ์ เสริมศรี. (2557). ศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. วิทยานิพนธ์ คม., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
คมกฤช พรหมฉิน. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ใน
ศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ คม., มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพ พรรณี, จันทบุรี.
วารุณี ก๋งหมึง. (2559). สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาล
เอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
สันติ บูรณะชาติ. (2558). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำที่แท้จริง. วารสาร
ศึกษาศาสตร์, 26(3) : 1-13.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงราย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.
ไสว พลพุทธา. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ด., มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
Adair, J. (2002). Effective Strategic Leadership. London : Pan Macmillan.
DuBrin. (2007). Leadership : Research findings, practice, and skills (5 th ed.).
Boston : Houghton Mifflin Company.
Hitt Ireland and Hoskisson. (2007). Management of strategy : Concepts and
Cases. China : Thomson South-Wettern.
Ireland and Hitt. (1999). “Achieving and Manintaining Strategic Compettiveness in the 21st Century : the Role of Strategic Leadership”. Academy of Management Excutive, 13(1): 43-57.
Krejcie R.V. & Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 : 607-610.
Nahavandi and Malekzadeh. (1999). Organizational Behavior: The Person
Organization Fit. Indiana, U.S.A: Prentice-Hall. Boston: Houghton
Mitchell.