การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกในสหวิทยาเขตดอยสุเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกในสหวิทยาเขตดอยสุเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกในสหวิทยาเขตดอยสุเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ประชากรจำนวน 569 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 226 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ จำนวน 6 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้เป็นแบบพื้นฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกในสหวิทยาเขตดอยสุเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด และในส่วนของด้านการนำองค์กร ด้านการวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านการจัดการ กระบวนการดำเนินการ ด้านผลลัพธ์การดำเนินการและด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกในสหวิทยาเขตดอยสุเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เป็นดังนี้ สถานศึกษาควรมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน ผู้นำองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและเป็นแบบอย่างที่ดี ควรส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญและมีการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ มีการมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพและมีกระบวนการจัดการที่เป็นเลิศ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดําเนินงานการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จิตราภรณ์ สามไชย. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของ
โรงเรียนในจังหวัดกําแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ชนิดา ปากหวาน. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาด
เล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน. (2558). การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองคการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
การแข่งขัน.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อกรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
พัชรัตน์ วุฒิญาณ. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่
โรงเรียนมาตรฐานสากล: พหุกรณีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 39. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เรียม สุขกล้ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับ
ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิพร รินทะ. (2558). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐาน
สากล:กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองคง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.
วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2558). วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ :
จิรวัฒน์เอ็กเพรส.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวทางการดําเนินงานโรงเรียน
มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: ผู้พิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยใน
ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). PMQA การพัฒนาองค์การสู่ความ
เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: บริษัทวีชั่นพริ้นท์แอนท์มีเดียจำกัด.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2559). หลักการทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา.
มหาสารคาม : ภาคบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุธี สุทธิสมบูรณ์สมาน และ รังสิโยกฤษฎ์. (2559). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สุริยา ห้าวหาญ. (2559). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยการประเมินความต้องการจําเป็น. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.