บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่มโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาศรีสังวาลย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

เมลี่ แซ่โก
ประกอบ สาระวรรณ
สิทธิชัย มูลเขียน
สุรัตน์ ศรีดาเดช

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่มโรงเรียนศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาศรีสังวาลย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่    เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านการบริหารงานบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ด้านการประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง กำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการออกจากราชการ และด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ


        แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้านการบริหารงานบุคคล มีดังนี้ ผู้บริหารควรมีการวางแผนอัตรากำลังกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งตามเกณฑ์ของโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าอบรม สัมมนา เพื่อให้ครูและบุคลากรมีศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา มีการส่งเสริมการเลื่อนวิทยฐานะ และประเมินตามความเป็นจริงอย่างเป็นระบบและโปร่งใส เกณฑ์ประเมินผลที่ชัดเจน แล้วนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไข และสนับสนุน ส่งเสริม สำหรับครูที่เกษียณอายุราชการที่ ให้เข้าร่วมโครงการครูผู้ทรงคุณค่าของแผ่นดิน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนกับครูที่มีความพร้อมในองค์ความรู้ ทักษะ และจิตวิญญาณของความเป็นครู

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด. (2559). คู่มือการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ กศจ (Online)/ เข้าถึงได้จากhttp:/ww.moe. go.th/moe/upload/news20/FileUpload/44998-2654.pdf, [2559, มีนาคม 5].

เทพรัตน์ ดาวเรือง. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รุ่งกานต์ ทองปาน. (2557). สภาพบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาของอำเภอเกาะสมุย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วิภาดา สารัมย์ (2562) . การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริรัตน์ มกรพฤกษ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สมหญิง สายธนู. (2560). คู่มือครูอาชีพ (ฉบับย่อ) ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤยดิวงศ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 2566. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.].

___________. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีพุทธศักราช 2566. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.].

สุเทพ เท่งประกิจ. (2557). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถนศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา.

สุภาภรณ์ หาญณรงชัยกิจ. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

อุทุมพร จันทร์ประวัติ. (2557). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.