บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

มลวิภา ชนะทิพย์
ทัศนีย์ บุญมาภิ
สังวาร วังแจ่ม
สุรศักดิ์ สุทธสิริ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและแนวทางพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 103 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


     ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของผู้บริหารในการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ บทบาทด้านการดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ บทบาทด้านการวางแผนการจัดระบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ บทบาทด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และบทบาทด้านการวัด ประเมินผลสรุปและจัดทำรายงาน ตามลำดับ


     แนวทางการพัฒนา คือ 1) ควรมีการกำหนดนโยบายการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา มีการวางแผน การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และรูปแบบการประเมินผลการบริหารแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย 2) ควรขอคำปรึกษาวิทยากรที่มีความรู้ด้านต่างๆ มาให้ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และส่งเสริมให้มีการจัดทำโครงการ/งาน ที่สนับสนุนให้วิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้ 3) ควรจัดให้มีกล่องรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ ส่งเสริมให้มีการประชุมวางแผน ดำเนินการ ประเมินผลและติดตามการดำเนินงาน และ 4) ควรมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคของการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการประเมินผลในรูปแบบออนไลน์ และนำผลการประเมินมาจัดทำ PLC ร่วมกัน เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

กมลพร ภูมิพลับ. (2564). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กู้เกียรติ แดงสีดา. (2563). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

จิรภา อินนารี. (2564). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุติมาพร เชาวน์ไว. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

โชคชัย หรีกประโคน. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปฐวี มณีวงศ์. (2558). การบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ประเสริฐ แทนพลกรัง. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พิชัย เรืองดี. (2558). การศึกษาแนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ภูษณิศา งามเมืองแก้ว. (2560). บทบาทของผูบริหารสถานศึกษาในการสงเสริมการใชแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการสำหรับนักเรียนที่มีความบกพรองทางสติปญญา กลุมภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรณุมาศ ศรีสวัสดิ์. (2557). การบริหารแหล่งเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองคกรปกครองส่วนทองถิ่น จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

รุ่งนภา มาอุด .(2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาพหุวัฒนธรรม กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุรเกียรติ งามเลิศ. (2557). บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงาน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ