การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัลของอำเภอไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

Main Article Content

ศรีรวี ศรีเทียม
สุรศักดิ์ สุทธสิริ
สังวาร วังแจ่ม
ทัศนีย์ บุญมาภิ

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัลของอำเภอไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ในโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัลของอำเภอไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 16 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย การบริหารงานวิชาการและแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัลของอำเภอไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การกำหนดการบริหารวิชาและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (Plan) รองลงมาคือ การตรวจสอบ นิเทศติดตาม (Check) การปฏิบัติ ดำเนินการตามกระบวนการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ (Do) และการปรับปรุงและสรุปการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขนาดเล็ก (Act)


แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ในยุคดิจิทัล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควร ควรมีการวางแผนปรับปรุง หรือพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น มีการวางแผนระยะเวลาในการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจน นำผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน ให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปพัฒนาคุณภาพทางวิชาการควรมีการนิเทศภายนอกร่วมกับครูและศึกษานิเทศก์ นอกจากนี้ควรมีตรวจสอบกระบวนการการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และควรประชุมวางแผนให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตสื่อการสอน เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกศรา ตุ่มคำ. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.

ธนัฏฐา คุณสุข. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

นปภาวัลย์ แก้วใจ. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในเขตสายไหมตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียน. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราญชลี สุดตา. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระสุริยา มหาปุญโญ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการยุคดิจิทัลตาม อิทธิบาท 4 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชฌาฎา แพงด้วง. (2565). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

แพรวพรรณ เปรมลาภ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วีรภัทร ภักดีพงษ์. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.