โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2

Main Article Content

กนกพร คำสอน
นวรัตน์ แซ่โค้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 335 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา      1 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครูผู้สอน 1 คน จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามการประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี ด้านทักษะการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านทักษะการสื่อสาร ตามลำดับ 2) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู ประกอบด้วย 1.หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหา มี 3 Module ได้แก่ Module 1 ทักษะการจัดการเรียนรู้ Module 2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ Module 3 ทักษะการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 4. วิธีพัฒนา และ 5. การวัดและประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา จันทะโยธา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับ

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จีรภพ แสงบุญมี. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยนาท พลอยบุตร (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสรรถนะครูด้านการบริหาร

หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ:

บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. (2565) แผนพัฒนาคุณภาพ

การศึกษา (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://web2.chaiyaphum2.go.th/.

มิถุนายน 2566.