บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และแนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้น 72 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีคำเฉลี่ยสูงสุด คือ บทบาทในการประสานสัมพันธ์กับชุมชน รองลงมาคือ ด้านบทบาทในฐานะผู้นำทางวิชาการ อยู่ในระดับมาก ด้านบทบาทในการทบทวนนโยบาย อยู่ในระดับมาก ด้านบทบาทในการบริหารหลักสูตรและการสอน อยู่ในระดับมาก และ บทบาทในการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำสุด คือ บทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง
แนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือ ผู้บริหารควรมีการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้มีการส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ ให้ครูสามารถพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สร้างแหล่งเรียนรู้ และบรรยากาศในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับการศึกการศึกษาในศตวรรษที่ 21
Article Details
References
กนิษฐ์ ศณีเคลือบ. (2557). การพัฒนาโมเดลการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล : การวิจัยอิงการออกแบบและการวิเคราะห์เอ็มเอ็มเอสอีเอ็ม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชญานันท์ แดนมะโฮง. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถนศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. (เอกสารการประชุม วิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน. ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, 301-313.)
ประยูร อาคม. (2548). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่าย อำเภอสังคม สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาหนองคายเขต 1. รายงานการศึกษาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่ง แก้วแดง. (2553). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5) . กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษา ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ศศิรดา แพงไทย. (2559, มกราคม-มิถุนายน). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น, 6(1), 7-11.
สาริสา ปราเมต. (2556). บทบาทการบริหารหลักสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตร จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สิทธิชัย พลายแดง (2557).คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัชยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
อนุเทพ กุศลคุ้ม. (2561). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
DerickMeado. (2016). The role of the principal in schools. Retrieved December 5,2559, from http://teaching.about.com/od/admin/tp/Role-Of-The-Principal.htm
DoDEA 21. (2014). Instructional Leadership: Self-Assessment and Reflection Continuum. Retrieved from http://content.dodea.edu/teach_learn/ professional development /21/docs/principals/self-assessment/self-assessment instructional leadership.pf
Grossman (2011) . Supervision and instruction: A developmental approach (2nd ed.). Boston: Allyn & Bacon
Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning Organization: Exploring a Model of Organizational Learning. Ph.D. Dissertation, Louisiana State University. U.S.A.