บทบาทการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่พริก-ศรีถ้อย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาและแนวทางการพัฒนาบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่พริก-ศรีถ้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่พริก-ศรีถ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 125 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ด้านหลักสูตรและด้านการพัฒนาครูมากที่สุด รองลงมาด้านการนิเทศและกำกับติดตามและด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาบทบาทการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่พริก-ศรีถ้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาตามความสามารถและศักยภาพของตนเอง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักเกณฑและวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศคณะศึกษาศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ใน พระบรมราชูปถัมภ์, 11 (3).
น้ำฝน ศรีใส. (2562). บทบาทในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุ่งนภา พรหมภักดี. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM) ที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
ยุวดี แสงขันตรี. (2564). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 (2565). ข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบายและแผน. สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. เชียงราย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 608-609.