การบริหารการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมที่เป็นเลิศของโรงเรียน สอนภาษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารและแนวทางพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนสอนภาษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสอนภาษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ในการสัมภาษณ์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนสอนภาษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยูในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและเนื้อหา และด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านสื่อและเทคโนโลยีการสอน ด้านกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา และด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ทุกด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ
แนวทางการพัฒนาการบริหารการศึกษาโดยใช้นวัตกรรมที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนสอนภาษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้ ด้านกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการครุภัณฑ์สำหรับเก็บบันทึกข้อมูล ด้านหลักสูตรและเนื้อหา พบว่า โรงเรียนควรปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับยุคสมัยอยู่เสมอ ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรมีการสรุปและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ด้านสื่อและเทคโนโลยีการสอน ควรมีการบูรณาการเทคโนโลยีความจริงผสมมาจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ควรจัดทำคลังข้อสอบจัดเป็นหมวดหมู่ตามเนื้อหาสาระ และจุดประสงค์การเรียนรู้
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546). สภาพปัญหา แนวทางการพัฒนาและการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กุลชาติ อุปรี. (2559). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ : กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 14(2) : 13-24.
ดวงกมล โพธิ์นาค. (2559). การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรียาภรณ์ ปานคล้ำ และเด่นดาว ชลวิทย์. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรัทธาสมุทร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธิติ ทรงสมบูรณ์. (2559). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ุเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2552: 3) พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. กรุงเทพฯ. เอกสารอัดสำเนา.
มหาวิทยาลัยรังสิต. (2559). นวัตกรรมการเรียนการสอน. วารสารสนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน,.รักษ์ วรกิจโภคาทร. (2559). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร ชุดวิชาที่ 2, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
วรวุฒิ รามจันทร์. (2559). นวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษายุคใหม่. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, ปีที่ 30 (ฉบับที่1). 117-138.
วุวุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2550). กระบวนการทางนวัตกรรม. (ออนไลน์)
ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2553, จากhttp://www.pochanukut.com/wp-tent/uploads/2007/12/innovation_process.pdf.
วันชัย สุขตาม. (2566). วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 7 (ฉบับที่ 2) : พฤษภาคม-สิงหาคม, กองบรรณาธิการวารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, สาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2563). นวัตกรรมการเรียนการสอน…เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุดารัตน์ ศรีมา. (2565). นวัตกรรมทำงเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.