ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

Main Article Content

พิชญา คำรังษี
สิทธิชัย มูลเขียน
สุรัตน์ ศรีดาเดช
ประกอบ สาระวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน มีกลุ่มตัวอย่าง 186 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 6 คน ครูผู้สอนจำนวน 180 คน และผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.977 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือ คือ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ด้านการมีความรู้ดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัลตามลำดับ
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีการประชุมเพื่อรวบรวมความคิดเห็นของครู บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานศึกษาให้มีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหา จุดอ่อน จุดด้อยและความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านดิจิทัลของสถานศึกษาให้ชัดเจน รวมทั้งสร้างระบบการบริหารที่มีคุณภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรปลูกจิตสำนึกในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยความมีมารยาทและความรับผิดชอบตามกฎหมายดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้งบประมาณในแผนงานหรือโครงการเพื่อพัฒนาดิจิทัลในองค์ที่มุ่งเน้นผลผลิตที่มีคุณภาพ และควรมุ่งส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและผลงานดิจิทัลที่มีคุณภาพของครูและนักเรียน ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ชัดเจน ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศการใช้เทคโนโลยีให้เป็นวิถีปกติและพัฒนาบุคลากรให้รู้เท่าทันโลกดิจิทัล

Article Details

บท
Research Articles

References

กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนัชชนม์ มาตระออ (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. การ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นภัสรัญช์ สุขเสนา (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566, จาก: https://today.line.me/th/pc/article/.Leadership+in+Digital+Era

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มัทนา วังถนอมศักดิ์ และคณะ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารความเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการ. วิทยาลัยแสงธรรม. 13(2), 5-25.

มูฮาหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. สารนิพจน์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

รัตติภรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก www.sasimasuk.com

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570. ลำปาง.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า ปริ๊นติ้ง.

อดุลย์ วรรณะปะกะ. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา นครพนม. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร.

อรรถพล ประภาสโนบล. (2559). วิพากษ์วัฒนธรรมยุคดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของเปาโลแฟร์. วารสารปณิธาน. 12 (1), 10.