การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

เบญจรัตน์ ขวัญประเสริฐ
นวรัตน์ แซ่โค้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นรูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 3) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน และครูผู้สอนจำนวน 338 คน รวม 478 คน โดยเปรียบเทียบประชากรกับตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแบบสอบถามการประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า


          1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านหน่วยการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


          2) รูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. วิธีดำเนินการ 4. การวัดและประเมินผล 5. เงื่อนไขความสำเร็จ วิธีดำเนินการมี 4 องค์ประกอบคือ ด้านหน่วยการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก


          3) การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิราพร ผุยผง. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับโรงเรียนเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยนิพนธ์ กศ.ม มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาศ พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ ค.ม นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐพร เอี่ยมหรุ่น. , (2561) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทนงศักดิ์ โพธิ์ เกตุ. (2564). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2564.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่20). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บุญชม ศรีสะอาด, 2560)

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

พินิจ เครือเหลา, การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัลลิกา สีตาเดช. (2563). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มติชน. วิไลรัตน์ หยดย้อย. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการบูรณาการตามหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงใน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัด สงขลา. วิทยนิพนธ์ กศ.ม สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิไลวัลย์ พรหมมา. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุปสรา สิทธิพงษ์. (2565). ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. 12 พฤษภาคม 2565.