รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 262 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 เครื่องมือที่่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพพึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล 2) การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล 3) การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ
และ 4)การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ มีหน่วยการเรียนรู้ 4 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 การมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล หน่วยที่ 2 การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ หน่วยที่ 3 การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล และ หน่วยที่ 4 การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 4) แนวทางการพัฒนา และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผ้บริหารโรงเรียน
ในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.
จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 460-471
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.
อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 กรณีศึกษา
จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
มนูญ แก้วโวหาร. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต5. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ
ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและ
ยุทธศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.