ภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

Main Article Content

ภัทรพงศ์ ทรัพย์เจริญ
ศิริพงษ์ เศาภายน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมสมุทรปราการ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการจำนวน 333 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่  ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งภาพรวมและรายด้านทุกด้าน 3) ครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ครูที่มีอายุต่างกัน มีความเห็นต่อภาวะผู้นำร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

จิตติภูมิ เทพคำ. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

พรทิพย์ อันสีเมือง และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2565). ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 312-328.

วิชุดา บุญเทียม และศิริพงษ์ เศาภายน. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 173-189.

วิภาดา ชัยสิงห์. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมนครปฐมเขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(2), 110-120.

สิริวรรณ กองธรรม และกัลยมน อินทุสุต. (2564). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 41-54.

สุธาสินี คำทะเนตร และชนมณี ศิลานุกิจ. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. ใน ศุภชัย ศุภผล (บ.ก.), รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, (น. 565-575). บัณฑิตวิทยาลัย อาคารท่าชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Brimhall, K.C., and Palinkas, L. (2020). Using mixed methods to uncover inclusive leader behaviors: A promising approach for improving employee and organizational outcomes. Journal of Leadership & Organizational Studies, 27(4), 357-375.

Jiang, M., and Lu, S. (2020). To Empathize, or Not Empathize in Educational Leadership. Journal of Organizational & Educational Leadership, 5(1), 1-20.