การพัฒนาแนวคิดเชิงคำนวณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยปัญหาเป็นฐานในรายวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นันทิชา พึ่งพวก
น้ำเพชร นาสารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบปัญหาเป็นฐานในรายวิชาวิทยาการคำนวณโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 28 คน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เป็นฐานจำนวน 3 แผน ได้แก่ 1) การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อยและการพิจารณารูปแบบ 2) การคิดเชิงนามธรรมและการเขียนอัลกอริทึม และ   3) การแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณ และแบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณฉบับหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาจากใบกิจกรรมระหว่างเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยปัญหาเป็นฐานนักเรียนมีความสามารถโดยรวมอยูในเกณฑ์ระดับดี ซึ่งมีร้อยละคะแนนเท่ากับ 82.03 และ 2) ผลการการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณหลังการทำกิจกรรมระหว่างเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานทั้ง 3 ใบกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าคะแนนร้อยละเท่ากับ 79.24

Article Details

บท
Research Articles

References

สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). เทคโนโลยี วิทยาการคำนวน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 .หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงประมวลผลด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา วิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2565). การพัฒนาเกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 56 - 66.

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ).

ภาสกร เรืองรอง รุจโรจน์ แก้วอุไร ศศธิร นาม่วงอ่อน อพชัชา ช้างขวัญยืน และศุภสิทธิ์เต็งคิว. (2561). Computational Thinking กับการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 322- 330.

นพดล ผู้มีจรรยา และอาลดา สุดใจดี. (2564). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคํานวณ) เรื่อง แนวคิดเชิงคํานวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางลี่วิทยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 10(1) (มกราคม-มิถุนายน 2564), 12 หน้า, 33-44. TCI (2).

โชติกา สงคราม. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคานวณด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1).

ชัยภัทร ลูกบัว. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Robotics ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2564.

CHENG, Z.-M., & Xiang, L. (2016). The PBL Teaching Method Research Based on Computational Thinking in C Programming. DEStech Transactions on Social Science, Education and Human Science(mess).