ผลของกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี

Main Article Content

วลัยพร เขียวไพรี
กรกฎา นักคิ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการใช้กิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจาก 2 ห้องเรียนที่ไม่มีความแตกต่างกันของคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาต่อและอาชีพ จากนั้นใช้วิธีการจับฉลากเลือกเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมฯ 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ใน  การวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนา    การตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และแบบบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ 2) แบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ Parametric Statistics Paired – Sample t - test และ Parametric Statistics Independent – Sample t - test 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพและต่อผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า           1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ มีคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     ที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิด       แบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ มีคะแนนจากแบบวัด       การตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพภายหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ และต่อผู้วิจัยหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การแนะแนวระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560).

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นาฏศิลป์ คชประเสริฐ. (2557). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทาง

การศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม

จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พาสนา นิยมบัตรเจริญ. (2551). ผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมาย

ทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิสาร

พิทยากร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการ

แนะแนว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มุทิตา อดทน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

(2), 182-194.

Blackwell, L., Trzesniewski, K., & Dweck, C. (2007). Implicit theories of

intelligence predict achievement across an adolescent transition: A

longitudinal study and an intervention. Child development, 78(1), 246-

Dweck, C. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Locke, E. A. and G. P. Latham. (1990). A Theory of Goal Setting &

Task Performance. New Jersey: Prentice Hall.