การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชุมชน อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนไทลื้อ บ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สวิตต์ เดชศิระ
จุรีรัตน์ ศิตศิรัตน์
ชนิษฐา ใจเป็ง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชุมชน อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนไทลื้อ บ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องด้วยจากสังคมปัจจุบันเน้นความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ มรดกประเพณีที่สืบทอดต่อๆ กันมา แลวัฒนธรรมที่ดึงดูดความสนใจ โดยสิ่งที่ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวนั้นมีหลายอย่างประกอบด้วยวิถีชีวิต การแสดงดนตรีพื้นบ้าน ภาษา อาหารประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา หัตถกรรมงานฝีมือ และการกระทำอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม และจากการที่ประเทศไทยมีความเป็นอัตลักษณ์สูง ทำให้ประเทศไทยต้องมีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นต่างๆเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพราะว่าความเข้มแข็งของวัฒนธรรมและการจัดการวัฒนธรรมจะสามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศโดยการนำเอาการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์นำมาจัดการให้เกิดความสนใจสอดคล้องตามคุณค่าของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญและเป็นปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการสร้างคุณค่าความทรงจำสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชนต่อไป

Article Details

บท
Articles

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 136-146.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). วัฒนธรรมคือทุน.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุขุมและบุตร จำกัด.

ชิตาวีร์ สุขคร. (2562). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. Journal of Sustainable Tourism Development 1(2), 1-7

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์. 18(1), 31-50

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2548).การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เพรส แอนด์ดีไซด์.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิต

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์ (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1: กรุงเทพ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม. (2544). กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2540). ทุนวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: พลีเพลส.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2544). การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชนบทอย่างยั่งยืน. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การจัดการท่องเที่ยวชนบท ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กรุงเทพมหานคร.26-28 กันยายน. (อัดสำเนา)

ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร และวิรัตน์ รัตตากร. (2556). บทบาทของสถาบันการศึกษาและชุมชนในการมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนมอญวัดศาลาแดงเหนือ. เอกสารเสนอต่อที่ประชุมวิชาการระดับชาติ ICOMOS 2013 หัวข้อ “มรดกวัฒนธรรมเอเชียที่ถูกลืม: รู้ รักษาสืบสาน”, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 15-16 ตุลาคม 2556.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2552). คลังความรู้.แหล่งที่มา http://www.royin.go.th/ [2 ตุลาคม 2566].

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2535). ไทลื้อในสิบสองพันนาและล้านนา. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง มรดกสิ่งทอไทลื้อกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมในล้านนา. เชียงใหม่

McKercher, B.; and du Cross, H. (2002).Cultural Tourism: The Partnership between Tourism and Cultural Heritage Management. New York: Haworth Hospitality Press.

Throsby, D. (2001). Economics and Culture. United Kingdom: Cambridge University Press.