การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ

Main Article Content

พสิษฐ์สุธา มหายศนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะนาฏศิลป์นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ ชั้นปีที่ 1  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระและเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา(Research & Develop)


            ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระประกอบด้วย หน่วยที่ 1  ประวัติความเป็นมาของระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ หน่วยที่ 2 ท่ารำระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ โดยใช้เวลาอบรมจำนวน12 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพความสอดคล้องของกิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์โดยระบำกัมโพชบุรี ศรีอุตระ หน่วยที่ 1 - 2 จากผู้เชี่ยวชาญโดยรวมพบว่า มีค่าเท่ากับ 4.8  แสดงว่ากิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระมีคุณภาพ เหมาะสมและมีความสอดคล้องในประเด็นต่าง ๆ วิเคราะห์ประสิทธิภาพกิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ มีประสิทธิภาพคระหว่างเรียน/หลังเรียนเท่ากับ 83.8 /86.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80/80 ผลการวิเคราะห์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภายหลังได้รับการอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทักษะทางด้านนาฏศิลป์สูงกว่าก่อนได้รับการอบรม และความพึงพอใขของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ โดยระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). นาฏศิลป์อาเซียน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู่ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 16.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา จารุรัตนวิบูลย์. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเลี้ยงสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ จังหวัดนครปฐม.ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพิศ ทรงวิชา. (2553). พัฒนาชุดการเรียนการสอนโดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสารการเรียนรู้การงานอาชีพ.ปริญญานิพนธ์ คม. (หลักสูตรและการสอน). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ปภิชญา เรืองโคและคณะ. (2562).ว.มรม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2562.

เยาวพร สระทองแง้ด. (2550). การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์ เรื่อง การควบคุมกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวทำนบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัทวรรณ เกิดสมนึก. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4R สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ปริญญานิพนธ์ คม.(หลักสูตรและการสอน).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยหาสารคาม.

พสิษฐ์สุธา มหายศนันท์และคณะ. (2562).นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระบำกัมโพชบุรีศรีอุตระ.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. คณะครุศาสตร์. อุตรดิตถ์:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

หทัยทิพย์ สมทอง. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์.ปริญญานิพนธ์ คม.(หลักสูตรและการสอน).อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

รสสุคนธ์ เพ็ญเนตร. (2561). การพฒันาทกัษะปฏิบัตินาฏยศพั ท์และภาษาท่าโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI ร่วมกับแนวคิดการสอนปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, คณะศึกษาศาสตร์.

วิทยา เอื้อการ. (2562). การพัฒนาทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีโหวตตามแนวคิดของครูภูมิปัญญาไทยประกอบชุดฝึก.ปริญญานิพนธ์ คม.(หลักสูตรและการสอน).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

ศิริวรรณ จิรวัชรเดช. (2559).สุทรียะด้านนาฏศิลป์ไทย.คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์.ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.