การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการลดหนี้ค้างชำระของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาการลดหนี้ค้างชำระของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์โดยใช้วิธี Content Analysis โดยการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 4-6 ปี อยู่สาขาเซ็นทรัล ระยอง สาขานิคมพัฒนา สาขาบ้านฉาง สาขาปลวกแดง สาขาระยอง มีประเภทกลุ่มของลูกหนี้ กลุ่มผู้มีรายได้ประจำทั่วไป มีรายได้ของลูกหนี้ 15,001-30,000 บาท มีประเภทสินเชื่อเพื่อนำไปซื้อที่อยู่อาศัย มีวงเงินในการกู้สินเชื่อของลูกหนี้ เริ่มต้นที่ 700,000 – 1,500,000 บาท มีสัดส่วนลูกหนี้ที่ค้างชำระในสาขา ต่ำกว่า 10% และลูกหนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท 2) แนวทางแก้ไขปัญหาการลดหนี้ค้างชำระของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง ได้ดังนี้ 1) สาเหตุปัญหาการค้างชำระของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง คือ ตรวจสอบข้อมูลเครดิต ข้อมูลทางการเงิน บัญชีเงินออม ประกอบกับสัมภาษณ์ผู้กู้ เพื่อพิจารณาพฤติกรรมและวินัยทางการเงิน วิเคราะห์รายได้ รายจ่าย ความมั่นคงของอาชีพ ภาระทางครอบครัว ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้กู้ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ พิจารณาจากเงินออม รายได้ ประเภทของการลงทุนรวมถึงความเสี่ยงต่อการลงทุน สภาพหลักประกัน ประเภท ทำเลที่ตั้ง ราคาประเมิน ราคาตลาด สาธารณูปโภคต่างๆ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาด ฯลฯ เพื่อคำนึงถึง ผลกระทบต่อการงาน รายได้ของผู้กู้ที่มีผลในการผ่อนชำระตลอดจน ความต้องการที่อยู่อาศัย 2) มูลเหตุการค้างชำระหนี้ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง คือ มีผลโดยตรงต่อรายได้ และค่าใช้จ่ายของผู้กู้ ส่งผลให้ความสามารถในการผ่อนชำระลดลง วงเงินที่ไม่เหมาะสม ในบางกรณีที่วงเงินสินเชื่ออนุมัติมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหลักประกัน ทำให้ลูกค้าตัดสินใจทิ้งหลักประกันในที่สุด ปัญหาการเลิกรา ส่งผลให้รายได้ลดลง ความสามารถในการผ่อนชำระคนเดียวไม่เพียงพอ ซึ่งต้องพิจารณารายได้ตั้งแต่ยื่นกู้ให้รัดกุม รวมถึงพิจารณาผลประโยชน์ในตัวหลักประกันของคู่สมรส อย่างเช่น กู้ร่วมกันแล้วอยู่อาศัยในตัวบ้านร่วมกันหรือไม่ 3) แนวทางในแก้ไขปัญหาการค้างชำระหนี้ของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดระยอง คือ ตรวจสอบรายได้ ค่าใช้จ่าย ความมั่นคงในอาชีพ พฤติกรรมทางการเงิน เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ ตลอดจนตรวจสอบสถานะทางครอบครัว เจตนาในการซื้อบ้าน ฯลฯ เงินคงเหลือหลังจำนองให้เหมาะสมไม่มีปริมาณเกินจริง ที่มาของรายได้ และบริษัทที่ทำงาน มีอยู่จริง คำนึงถึงระยะเวลาในการทำงานมากน้อยเพียงใด
Article Details
References
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). รายงานประจำปี 2565. สืบค้นจาก https://www.ghbank.co.th /information/report/annual-report/ สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.
_______. (2565). รายงานประจำปี 2564. สืบค้นจาก https://www.ghbank.co.th /information/report/annual-report/ สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.
พรทิพย์ ยมะสมิต. (2563). แนวทางการแก้ไขและควบคุมหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป (Npls) ธนาคารออมสินศูนย์ควบคุม และบริหารหนี้เขตสมุทรสาคร. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563. หน้า 520-527.
สุทธิพงษ์ มะยอง. (2563). ศึกษาเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย (NPL) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระกลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อมรรัตน์ กาญจนไพหาร และลลิตา หงส์รัตนวงศ์. (2563). แนวทางการแก้ไขปัญหา และลดการเกิดหนี้ค้างที่เป็น NPLs ของธนาคารออมสินสาขาเกทเวย์เอกมัย. สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2566. จาก https://www.hu.ac.th/conference/proceedings2020/doc/G10/G10-12-008BuPP_%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20(P-1684-1698).pdf
Rumelt, R. (1979). Strategic Management: A View of Business Policy and Planning (2ed,) Boston.