ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์

Main Article Content

รัศมี ขวาโยธา
พรพิมล กะชามาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ การยอมรับเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน สำหรับความแตกต่างเกี่ยวกับ เพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ตัวแปรย่อยได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน และพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับด้านอิทธิพลของตัวแปรภายนอก การมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ และการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ตัวแปรย่อยได้แก่ การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอและมีวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรที่เหมาะสม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับความผูกพันต่อองค์กร และการปรับตัวไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์

Article Details

บท
Research Articles

References

ณัฐรัตน์ สุขใย. (2561). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การยอมรับเทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สังกัดกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ

บริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2565). รายงานประจำปี 2565. สืบค้นจาก https://www.ghbank.co.th /information/report/annual-report/. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566.

พรพิมล พิทักษธรรม. (2559). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา โรงแรมคอลัมนแบงค็อก กรุงเทพฯ. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

เพชรรัตน์ ศิริวัฒนานุรักษ์. (2561). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล การยอมรับและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน มีผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภรภัค นิลคัมภีร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี กรณีศึกษา : ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในภาคตะวันออก. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วุฒิชัย รอดจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาพร โทบุตร. (2564). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดปราจีนบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย. (2563). การศึกษาพฤติกรรมปรับตัวการทำงานในยุคดิจิทัลเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Davis et al. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly 13 (3): 319–340, doi: 10.2307/249008

Denison, D. R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. John Wiley & Sons.

Griffeth, R. W., Hom, P. W., & Gaertner, S. (2000). A meta-analysis of antecedents and correlates of employee turnover: Update, moderator tests, and research implications for the next millennium. Journal of Management, 26(3), 463–488.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.