การประเมินสัมฤทธิผลการดำเนินการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของไทย

Main Article Content

ธนาธิป พรหมเกาะ
จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต  การทำงานของแรงงาน นำเสนอแนวทางเชิงนโยบายการส่งเสริมตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี  ในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของไทยไปปฏิบัติการศึกษาครั้งนี้ ใช้การผสานวิธีของการวิจัย เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณจากการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 1 กลุ่ม ได้แก่ แรงงานอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีจากภาครัฐ และภาคเอกชน กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย และแรงงานอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เชิงสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการศึกษาพบว่า แรงงานมีขวัญและกำลังใจ ในการทำงานมากขึ้น คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี ปฏิบัติงานด้วยความเคร่งครัด และรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ เพื่อให้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง และยังส่งผลดีต่อศักยภาพ และความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ และสามารถ ตอบสนองต่อเงื่อนไขการค้าโลกโดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งด้านแรงงานใช้แรงงาน ที่ดี ส่งผลให้สถานประกอบกิจการมีกำไรที่เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

จุมพล หนิมพานิช. (2548). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ หลักการแนวคิดและกรณีตัวอย่าง ของไทย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดรุณี เผ่าสุวรรณ. (2543). การนำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา: สำนักงานประกันสังคมและกรมการประกันภัย. รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารัตน์ บริพันธกุล. (2544). “ระบบการบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์”. เอกสารประกอบการสัมมนา เชิงประสบการณ์ของสถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนานโยบายและจัดการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2529). “รัฐประศาสนศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา”. เอกสารการสอนชุดวิชาหลัก และวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์, กรุงเทพฯ: บางกอก-บล็อก-ออพเซท การพิมพ์.

วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2541). การประเมินผลระบบเปิด. กรุงเทพฯ : สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.

สำนักงบประมาณ และสถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. (2549). คู่มือการพัฒนาการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน จากการใช้จ่ายงบประมาณ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2540). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์หรือการบริหารงาน แบบมุ่งผลงาน. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2541). ระบบบริการงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์. โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพ ในส่วนราชการ : ระบบบริการงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร.

Adler, P. A. and Adler, P. (1994). “Observational Techniques”. Thousand Oaks, CA : Sage.

Aucoin, Peter. (1990). “Administrative Reform in Public Management: Paradigms, Principles, Paradoxes, and Pendulums”. Governance, 3, 115-137.

Bacal, Robert. (1999). Performance Management. New York : McGraw-Hill.

Bingham, R. D., and Felbinger, C. L. (1989). Evaluation in Practice: A Methodological Approach. New York : Longman.