การพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน

Main Article Content

ลัดดา เศิกศิริ
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 70/70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองทองหลางโนนกุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 จังหวัดยโสธร  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน จำนวน 6 แผน แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกอนุทิน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 7 คน การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้สูงสุด 117 คะแนนต่ำสุด 88 คะแนน รวมผลการประเมินทั้งหมด 747 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 107 คิดเป็นร้อยละ 85 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน มีกระบวนการ สำรวจความรู้ อธิบายความรู้ เล่นเกม นำเสนอความรู้ สรุปและสะท้อนผล สามารถพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬาลักษณ์ สนเกื้อกูล .(2565).การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 เรื่อง ระบบสุริยะ ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความ รู้ร่วมกับการใช้เกม.Journal of Modern Learning Development .7(7): 59-73.

ชลิดา อาบสุวรรณ์ และ วาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 25–36.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พันธ์ ทองชุมนุม.(2547).การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

ภูธเนศ ม่วงราม และ แววดาว ดาทอง.(2566).ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้ตามรูปแบบสะตีมศึกษา(STEAM EDUCATION) เรื่องอาหารและสารอาหารของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกหินตั้งศึกษาศิลป์.วารสาร ศึกษา ศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา 34.1 (2023): 19-31.

มัชฌิมาภ เส็งเล็ก และคณะ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(2), 91-103.

ศิริสุภากร เมือนช้าง.(2562).การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สิริลักษณ์ สาระชาติ.(2553) .ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

สุภาวดี กาญจนเกต.(2566).การพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้และการใช้เหตุผล.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,17(1) , 135–148.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุดกรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี.วรันญา วิรัสสะ. (2562). การศึกษาหาความสัมพันธ์ของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสิงห์บุรีสังกัดโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 11(2) , 130–141.

อาริยา ภูพันนา.(2565).การพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม