ทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อุตสาห์ เสมียะ
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดับทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษาตามตวามคิดเห็นของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเห็นของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05  จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่


           ผลการวิจัย พบว่า


  1. ทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

  2. ครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความเห็นต่อทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหาครนครโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

  3. ครูที่สังกัดขนาดศึกษาต่างกันมีความเห็นต่อทักษะทักษะการทำงานร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กณิษฐา ทองสมุทร.(2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี เขต 2.

กันตรี เนื่องศรีและคณะ.(2563, สิงหาคม - ธันวาคม). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา.วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,15(2), 225-238.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2552).ความไว้วางใจในองค์การของประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบองค์การภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลาลัย นิมิบุตร. (2553). วิสัยทัศน์กับผู้บริหาร. สืบค้นจาก: https://kosut158.blogspot.com/2010/02/blog-post.html

ฐิตินันท์ บัวอุบล.(2564, พฤษภาคม).การพัฒนาทักษะการพัฒนาเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น,7(5),167-180.

ณัชธาร แดงเหมือน.(2560,มกราคม - มิถุนายน). พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการวิลัยราชภัฎเพชรบุรี,

(1),17-27.

ณัฐสุดา น้อยอาษา. (2565, กรกฎาคม - ธันวาคม). ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ,7(2),97-110.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: นิชิน แอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.

ธีระ รุญเจริญ.(2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

นพรัตน์ ทัดรองและคณะ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำแบบร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม,8(1), 329-343.

นิภาพร รอดไพบูลย์.(2565). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาสระแก้ว. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพวรรณ คงพริ้ว.(2563). การศึกษาบทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

บุญไช จันทร์ศรี. (2562).การศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของภาครัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564-2569).

สืบค้นจาก: https://webportal.bangkok.go.th/user_files/116/733121162622f13a8649479.

ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3, ชลบุรี: มนตรี.

มณฑาทิพย์ นามบุ.(2561). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2 .วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรนุช แสงนิ่มนวล. (2549). วิสัยทัศน์ตามกระแสโลก. กรุงเทพฯ: วันเนสพริ้นติ้ง.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย.(2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการบริหารการปกครองที่ดี.กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิรันทร์ดา เสือจอย.(2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุกรรยา อังคุระษี.(2565). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุรชัย เลยกุล. (2550). หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นจาก: http://www.dlt.qu.th/manpower/doc/gov20HRmay07.doc

หทัยทิพย์ วงค์มามี.(2564, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองปรือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี

เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มภร บ้านสมเด็จเจ้าพระยา,6(1),34-46.

เอ็ด สาระภูมิ. (2546). ศัพท์ทางการบริหารเอกสารชุดฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง. กรุงเทพมหานคร, สำนักานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

Jeff Bezos. (2566). 8 วิธีสร้างความร่วมมือและประสานพลังในองค์กร

สืบค้นจาก https://www.phanrakwork.com

Lucas, J.R. (1998). Balance of Power. NY: AMACOM.

Robbins H., & Finley, M. (2000). Why Team Don't Work. 2" ed. London: Orient Business.