การให้การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัยเป็นการส่งเสริมและอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวมและสมดุลครบทุกด้านเป็นไปตามช่วงวัย การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัยด้านการจัดการศึกษาต้องได้รับการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มทันทีที่พบความผิดปกติหรือมีพัฒนาการล่าช้า เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของการพัฒนาทุกด้านอย่างเป็นองค์รวมหากเด็กได้รับการจัดการศึกษาที่เหมาะสมควบคู่กับการบำบัดที่จำเป็นต่างๆตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจะสามารถมีพัฒนาการจนใกล้เคียงเด็กปกติได้ ซึ่งในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มมีบุคลากรทางการแพทย์วินิจฉัยพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล เมื่อพบถึงความผิดปกติหรือมีพัฒนาการล่าช้า ต้องมีทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัวกับนักวิชาชีพเพื่อร่วมกันปรับพฤติกรรมเด็ก ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องจัดการศึกษาเฉพาะรายบุคคลควบคู่กับการบำบัดจากนักวิชาชีพในระบบโรงเรียนเรียนรวมทั้งครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กควบคู่ไปกับโรงเรียนและรูปแบบในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ สถานศึกษาเฉพาะความพิการ
Article Details
References
กรองทอง จุลิรัชนีกร, (2554). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ คู่มืองานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (EI) และเตรียมความพร้อม.(2563) กลุ่มบริหารงานวิชาการ ประจำปี 2563 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เกตอรอินท์ พิทักษ์โคชญากุล.(2561-2562).การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดศรีสะเกษ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
บุรินทร์ สารีคำ และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2560,กันยายน – ธันวาคม). ระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน. วารสารVeridian E – Journal, Silpakorn University (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ) 10(3). 688 – 701.
ประภาศรี นันท์นฤมิต. (2564).การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. ภาควิชากุมาร
เวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทา ขลิบทอง. (2566). การให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม (Early Intervention). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการสร้างเสริม. วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรัญจิต วรรณนวล. (2549). การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบ)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2556) คู่มือการให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มและการศึกษาแบบเรียนรวมในระดับปฐมวัย สำหรับครู. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการโดยผู้ปกครอง Early Intervention for Children with Disability by Parents and Communities. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Batshaw ML,(2007).Children with Disabilities.7ed. Baltimore: Paul H. Brookes
Dunst,C.J,(2002).Family-centered practices: Birth through high school. The Journal of Special Education.36: 141-149.