การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สอนในสถานศึกษาเอกชน

Main Article Content

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย
สุรีย์ลักษณ์ รักษาเคน
พลอยพัชร์ วัชรสุนทรกิจ
อาทิฐยา วรนิตย์

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสังกัดสถานศึกษาเอกชน 2) เพื่อสำรวจปัจจัยที่ส่งผลการดำเนินงานหลังการอบรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็นนักศึกษา จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2564 ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบผสมผสาน ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) สำรวจ ความต้องการของนักศึกษา


ครูและจัดอบรมปฏิบัติการ 2) สำรวจการนำนวัตกรรมไปใช้ที่สถานศึกษาเอกชน 1 ปีการศึกษา 3) สอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เชิงรุกและสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก เครื่องมือวิจัย มี 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสำรวจความต้องการของนักศึกษาครู 2) ชุดฝึกอบรมปฏิบัติการ 3) แบบสำรวจชิ้นงานหลังการอบรม 4) แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เชิงรุก และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษามีรูปแบบและเทคนิคของกิจกรรม 1) ผลงานระหว่างการอบรม 2 ลำดับแรก ได้แก่ โครงงาน จำนวน 18 คน 6 ชิ้น (ร้อยละ 60) สะเต็มศึกษา(STEM Education ) 9 คน 3 ชิ้น (ร้อยละ 30) อื่น ๆ อีก 3 คน 1 ชิ้น ( ร้อยละ 10) จำแนกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่โครงงานสำรวจ 3 เรื่อง (ร้อยละ50.00) โครงงานทดลอง 2 เรื่อง (ร้อยละ33.33) และงานประดิษฐ์ 1 เรื่อง (ร้อยละ16.67) และ 2) ผลงานหลังการอบรม ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2 ลำดับแรก ได้แก่ โครงงาน จำนวน 8 คน (ร้อยละ26.67) และSTEM Education จำนวน 6 คน (ร้อยละ 20) โรงเรียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมระดับเหรียญทองในงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 69 ได้แก่ โรงเรียนสวนสนขอนแก่น

  2. 2. ปัจจัยที่ส่งผลการดำเนินงานหลังการอบรมปฏิบัติการ ในความเห็นของครูผู้สอน มี 6 ประเด็นไนระดับ “มากที่สุด” มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตรและบทเรียนรู้เชิงรุก มีการส่งเสริม ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การมีสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้ครูสามารถนำหลักสูตรสื่อบทเรียนนั้นไปใช้ได้อย่างสะดวก 2) ด้านครูผู้สอน มีการส่งเสริมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนของครูให้ดียิ่งขึ้น 3) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมากที่สุดได้แก่ การให้กำลังใจเพื่อให้ครูมีความมั่นใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัด การเรียนรู้เชิงรุก 4) ด้านผู้เรียน มีการส่งเสริมในระดับมากที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 5) ด้านคณะกรรมการมีการส่งเสริม ในระดับมากที่สุด ได้แก่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำกับดูแล และ 6) ด้านเครือข่ายมีการส่งเสริม ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายสถานศึกษากลุ่มเดียวกัน

  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีระดับมากที่สุดทุกด้าน (X̅= 4.62, S.D.= 0.57)และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่พอใจมากที่สุดคือ ด้านอาจารย์ผู้สอน (X̅= 4.69, S.D.= 0.07) 

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R

ร่วมกับเทคนิค แผนผังความคิด . ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ธัญมาศ กิ่งแก้ว. (2565) . การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์

ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้า

อิสระ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2563) แผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565)

รัชนิวรรณ อนุตระกุลชัยและคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาใน

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์. 6(5), 2592-2607.

ลลิลทิพย์ วรรณพงษ์และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2563). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

เจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการ

เรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD”. วารสาร มจร.อุบลปริทั

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี :สสวท. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบ

สะเต็มศึกษา .เอกสารประกอบการอบรม.

สุวิมล มาลา และคณะ (2560) . “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และ เจตคติ ต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน”.

วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 280-290.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). “การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา

0”วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(3).

กันยายน– ธันวาคม 2561, 61-71

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

สกสค.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). การพัฒนาการสอนสร้างสรรค์ กิจกรรมเพิ่ม

เวลารู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

(พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. (2565) รายงานผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 69

อภัยพร ศิลารักษ์ (2562) การพัฒนาชุกกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Kaichawee,S. and Sitti,S. (2015). The Effect of Science Learning Activities Using The

Problem-Based Learning and Project Approach of Matthayomsuksa 3

Students The results. Journal of Education Graduate Studies Research,

KKU. March 8,2021 from https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ .

S. Duangkamnoi and T. Sangsriruang.(2022). “Developing the Creative Cane

Designing STEM Education Unit for Grade 6 Thai Students” Asia Research Network Journal of Education 2(1) Jan. – Apr. 2022, 17-26.

Suparee, M., and Yuenyong, C. (2021). Enhancing Grade 11 Students’ Learning and

Innovation Skills in the STS Electric Unit. Asia Research Network Journal of

Education, 1(2), 96–113.