การปรับพฤติกรรมเด็กนักเรียนสภาวะสมาธิสั้นที่มีปัญหาพฤติกรรมเพื่อลดปัญหาก่อกวนในชั้นเรียนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเรียนรวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ปกครองและครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคในการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก การตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรม คือ ต่อต้าน และก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่า คือ “การให้คำชม หรือรางวัล”เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม “สร้างแรงจูงใจให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี” อีกเทคนิคหนึ่งที่ได้ผลคือ การใช้เบี้ยอรรถกรในการเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เช่น “มีการทำตารางดาวเด็กดี ถ้าทำความดีจะได้รับดาว 1 ดวง ถ้าครบ 30 ดวง จะให้รางวัลพิเศษที่เด็กชอบ แต่ของรางวัลต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม” หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมควรจะใช้เทคนิคการลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการลงโทษทางลบ เช่น การงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่น
การปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุดควรคำนึงถึงลักษณะของเด็กสมาธิสั้น และความชอบของเด็กเป็นเป็นหลัก ก่อนนำเด็กเข้าโปรแกรมปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก และเพื่อเป็นการศึกษาสภาพการณ์ของเด็กสมาธิสั้นก่อนปรับพฤติกรรม งานวิจัยรองรับการปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นมีหลายวิธี โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กให้คงอยู่ได้นาน และถาวร
Article Details
References
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ธีระ ประพฤติกิจ. (2542). พฤติกรรมบำบัด. เพชรบุรี: สถาบันราชภัฏเพชรบุรี
นงพงา ลิ้มสุวรรณ. (2542). โรคสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล
ผดุง อารยะวิญญู. (2544). วิธีสอนเด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2548). เด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เพียงทิพย์ พรหมพันธุ์. (2549)เด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: บริษัทฐานการพิมพ์
พยม เกตุมาน. (2552). สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: บริษัทเรือนปัญญา
สมเกตุ อุทธโยธา. (2560). การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ. เชียงใหม่:
บริษัท ส. อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎี และเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป จินงี่. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิเคราะห์พฤติกรรม และการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภรณี ภูรีิสิทธิ์. (2559). วิธีพูดกับลูก โดยไม่ทำร้ายจิตใจของเขา และให้เขาร่วมมือยอมทำตามคุณ. กรุงเทพฯ: บีมีเดียกรุ๊ป.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเพทฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาวัลย์ หาญขจรสุข. (2556). วารสารวิชาการคณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัpศรีนครินทรวิโรฒ
Laura Dodson. (2559). Integrated Experiential Counseling/Therapy Theories Virginia Satir and Carl Jung Approaches. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Alan Hodkinson. (2016). Key Issues In Special Education Needs & Inclusion. United Kingdom: India Printed and bound by CPI Group (UK) Ltd.
Janet Tubbs. (2008). Creative Therapy for Children with Autism, ADD and Asperger’s United State of America: Square One Publisher.
Denise A. Soares. (2017). School Psycology Review. United States of America
Anna Miranda and María Jesús Presentación. (2000). Psychology in Schools. Spain: John Wiley & Sons, Inc.
Amy R. Altszuler, Anne S. Morrow and Other. (2016) Clinical Child and Adolescent Psychology. United States of America
National Resource Center on ADHD. Psychosocial Treatment for Children with ADHD. (ออนไลน์)