รายงานผลการพัฒนา การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

จุตินันท์ โตอ้น
อุบล ผลจันทน์

บทคัดย่อ

            การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมาเขต 1 จังหวัดนครราชสีมา ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสําคัญ เพื่อศึกษาการส่งเสริมการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยเฉลี่ยรวมและแยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ความสามารถบังคับใช้กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อน และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 15 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ได้ทำการศึกษาการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 45 นาที รวม 32 ครั้ง


           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม และแบบประเมินเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ประเมินการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็กด้วยตนเอง ได้ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน (IOC) เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for Dependent Samples


          ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็ก โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พบว่าระดับการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็กโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็ก สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 แยกเป็นรายด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ความสามารถบังคับใช้กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ พบว่า ระดับคะแนนการพัฒนาของกล้ามเนื้อเล็กทั้ง 4 ด้าน มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันวันละ 45 นาที รวม 32 ครั้ง

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555-2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2555). การวัดและการประเมินแนวใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :

เบรน-เบส.

Huffman and fortenberry (2011; 47). How to think creativity. New York: McGraw-Hill.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2556). กิจกรรมสําหรับเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Landrath, M.; & Logan, V.G. (2012). Education for Young Children. Toronto: McGraw- Hill

Ryerson.

รุ่งรวี กนกวิบูลย์ศรี. (2555, ตุลาคม). อนุบาล 2 แล้วยังเขียนหนังสือไม่ค่อยได้. นิตยสารรักลูก, 30(357) :

สรวงพร กุศลส่ง. (2553). สุนทรียภาพทางศิลปะระดับปฐมวัย. เพชรบูรณ์ : ดีดีการพิมพ์.

เบญจา แสงมะลิ. (2555). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Dewey, John. (1959). Experience and Education. New York : Macmillan Publishing

Company.

Piaget, G.T., J.B. Thomas and A.R. Marshall. (1977). International Dictionary of

Education.GreatBritain : The Anchor Press Ltd..

พัฒนา ชัชพงศ์. (2556). ทฤษฎีและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ :

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เต็มสิริ เนาวรังสี. (2554). รูปปฐมวัยกับศิลปะเด็ก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอนุบาลศึกษา

คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2559). เรียนๆ เล่นๆ อนุบาลอมาตยกุล. กรุงเทพฯ : ที พี พริ้นท์

พรมารินทร์ สุทธิจิตตะ. (2557). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 1 ที่เรียนการสร้างภาพโดยการใช้และไม่ใช้รูปเรขาคณิต เป็นสื่อ. วิทยานิพนธ์ ค.ม.

(การประถมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ราศี ทองสวัสดิ์. (2557). การจัดตารางกิจกรรมประจําวันในเข้าใจเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.