การบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1

Main Article Content

ณีรนุช กุมผัน
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต1 จำนวน 306 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ โคเฮน และใช้การกำหนดตัวอย่างวิจัยแบบแบ่งชั้นภูมิ จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย และเทียบสัดส่วนตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามทัศนะของครูเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่


    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของการศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านชอบความท้าทาย รองลงมาด้านกล้าเผชิญปัญหาและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ด้านหาบทเรียนและแรงบัลดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 พบว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นขนาดของสถานศึกษาที่มีความต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิดแบบเติบโตของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

ก้องเกียรติ แซ่ตัง. (2550). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและทักษะของผู้บริหารทีส่งผลต่อ

การจัดการองค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชนิตา รุ่งเรือง และเสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนา

ศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 1-13.

นริศรา ประศาสตร์ศิลป์ และ อดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การเปรียบเทียบการจัดการความรู้

ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต

Journal of Modern Learning Development, 7(5), 124-139. บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10), กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

ผ่องพรรณ พลราช. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. Journal of Ratchathani

Innovative Social Sciences, 1(1), 27.

อติกาญจน์ ศรีสังข์. (2564). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร

สถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราช

ภัฏรำไพพรรณี. Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education.

(8th ed.). London: Routledge.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York:

Random House Publishing Group.

Paradigm. (2017). Growth Mindset at Work. New York: Harper and Row.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning

organization. London : Century Press.